กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบางกล่ำ
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยุฑามาส วันดาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน สังคม ตามลำดับ จากสถานการณ์ ๓ ปีย้อนหลังในเขตพื้นที่รับผิดชอบพบว่า ปี ๒๕๖5 – ๒๕๖7 พบผู้ป่วยจำนวน 3,92 และ 30 ตามลำดับ ในเขตพื้นที่หมู่ ๗,๑๑ และ๑๒ ซึ่งเกิดจากสภาพแวะล้อมและพื้นที่ที่เหมาะต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของโรค
    ในพื้นที่ของคลินิกชุมชนโคกเมาพบผู้ป่วยไข้เลือดออกและอาการเข้าข่ายโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ของปีนี้พบการระบาดได้น้อยลงตามหลักการระบาด ๑ ปี เว้น ๒ ปี แต่ยังต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันเนื่องจากชุมชนโคกเมาเป็นสังคมกึ่งเมืองที่มีพื้นที่ที่ติดต่อกับเขตอำเภอหาดใหญ่ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เกิดจากพฤติกรรมของประชาชนในชุมชน     ดังนั้นทางคลินิกชุมชนโคกเมา ได้เล็งเห็นความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ จึงมีมาตรการในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคในระยะรัศมี ๑๐๐ เมตร ตามมาตรการ ๓-๑-๑ ที่ใช้ในการควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างทันถ่วงที การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี นิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐและภาคีเครือข่าย คลินิกชุมชนโคกเมา “เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3. เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 4. ทำให้ประชาชนและนักเรียนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ลดลงร้อยละ 70
  2. ชุมชนและโรงเรียนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อ มิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3. เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 4. ทำให้ประชาชนและนักเรียนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ในโรงเรียนและชุมชน นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกเมา จำนวน 100 คน นักเรยน ศพด 2 แห่งจำนวน 50 คน ประชาชนหมู่ที่ 7,11 และ 12 จำนวน 50 คน 2.กิจกรรมจัดหาอุปกรณ์เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและนักเรียน
  2. ชุมชนและโรงเรียน ร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2568 14:22 น.