กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กคูหาฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ปี2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.คูหา
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 63,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลาตีผ๊ะ เซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยโรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก ผลการสํารวจสภาวะสุขภาพช่องปากในเด็ก 3-5 ปี ในเขตตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาเป็นผู้รับผิดชอบดูแล ปีงบประมาณ 2566 - 2567 พบว่า มีอัตราการเกิดฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 48.8 ตามลำดับและมีแนวโน้มสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะช่องปากโดยรวมของอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา คือ ร้อยละ 63.62 สาเหตุหลัก เนื่องจากบุคลากรเพียงคนเดียวไม่สามารถดูแลได้อย่างครอบคลุม ในการจัดระบบบริการเชิงรุกให้กับเด็กที่มีปัญหาทั้งหมดภายในระยะ 1 ปีงบประมาณ
จากเหตุผลดังกล่าว ทางฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็ก 3-5 ปี ขึ้นเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก ทา/เคลือบฟลูออไรด์ การให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ดูแลเด็ก/คุณครู การแปรงฟันที่ถูกวิธี บริการทันตกรรมเชิงรุก SMART TECHNIQUE และการติดตาม ประเมินผล จึงได้จัดทำโครงการเด็กคูหาฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ขึ้นเพื่อควบคุมโรคฟันผุ ป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ และยังเป็นการดูแลรักษาอนามัยในช่องปากให้กับเด็กต่อไปได้เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการดูแลทันตสุขภาพเด็กอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้เด็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับ การเคลือบฟลูออไรด์วานิช ข้อที่ 2. เพื่อลดการผุลุกลามของฟันกรามน้ำนมในเด็กอายุ 0 - 5 ปี ข้อที่ 3.เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ

1.เด็ก 0- 5 ปี ในคลินิกสุขภาพเด็กดี/ศพด.ที่มาร่วมกิจกรรม ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ วานิช ร้อยละ 100 2. เด็ก 0 - 5 ปี เข้ารับบริการทันตกรรมในกรณีฟันน้ำนมผุ ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique มากกว่าร้อยละ 5๐ 3. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ร้อยละ80 (วัดจากแบบสอบถามวัดความรู้)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ประเมินผลความรู้ผู้ปกครอง หลังการดำเนินกิจกรรม 2. ติดตามผลภายหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค smart แล้วเด็กไม่มีอาการปวดฟัน 3. รวบรวมข้อมูลและรายงานผล
4. สรุปและประเมินผลโครงการ   กิจกรรมที่ 1 เด็กในคลินิกสุขภาพ เด็กดี ได้รับบริการดังนี้         1.1 ตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์วานิชทุกคน         1.2 เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ให้บริการนัดรักษาทางทันตกรรม ที่ รพ.สต.คูหา หรือส่งต่อ
            รพ.สะบ้าย้อย
        1.3 ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับเด็กด้วยแปรงสีฟันและยาสีฟันผสม
            ฟลูออไรด์ พร้อมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง   กิจกรรมที่ 2. เด็กในศพด.ได้รับบริการดังนี้         2.1ตรวจสุขภาพช่องปากด้วยชุดอุปกรณ์ ตรวจฟันและเคลือบฟลูอไรด์ทุกคน         2.2เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ให้บริการทางทันตกรรมอุดฟัน Smart technique หรือส่ง             ต่อรพ.สงขลา         2.3จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก         2.4.ฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี ในบุตรหลานของตัวเอง         2.5สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิช 2. เด็ก 0 - 5 ปี เข้ารับบริการทันตกรรมในกรณีฟันน้ำนมผุ ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique 3. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 11:14 น.