โครงการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยเบาหวาน ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยเบาหวาน ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านทับหลวง |
วันที่อนุมัติ | 24 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 28,620.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฮาสาน๊ะ ยะวอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.61,100.833place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 414 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขและมีความสำคัญต่อการป่วยพิการ และตายก่อนวัยอันควรจำนวนมากได้แก่โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนี้ไม่ได้มีผลกระทบเฉพะบุคคลผู้ที่เป็นโรคเท่านั้นแต่ยังส่งผลไปถึงครอบครัวชุมชนรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศซึ่งทางสำนักโรคไม่ติดต่อได้รณรงค์และควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภายใต้แนวความคิดหลักคือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยหลัก 3อ.2ส. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สูบบุหรี่ สุรา เน้นที่ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปและมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เหมาะสมโดยการเลือกรับประทานอาหารรสไม่จัด ( ลดหวาน มัน เค็ม ลง )เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ มีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงและออกกำลังกายเพียงพอไม่สูบบุหรี่ลดการดื่มแอลกอฮอล์และมีการจัดการความเครียดที่เหมาะสม จากการดำเนินงานคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง พบว่าในพื้นที่มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 49 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 210 ราย และผู้ป่วยทั้งสองโรคคือความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 53 ราย โดยมีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนโรคอัมพฤกษ์อัมพาต ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต และพิการเพิ่มขึ้นทุกปี
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทับหลวง จึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี พ.ศ.2568 ต่อเนื่องขึ้นเพื่อเป็นการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคให้ได้รับการดูแลตามมาตรฐานไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทับหลวง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตที่ถูกต้อง 2. เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และความดันโลหิต 3. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้าตาลได้ 4. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันได้ 5. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนลดลง
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กลวิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
๑. การจัดประชุมวางแผนร่วมกับผู้นำชุมชน และ อสม.เพื่อขออนุมัติโครงการ
๒. ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการแก่ผู้นำชุมชน อสม. และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่ขอความร่วมมือในการดำเนินงาน
3. นัดกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูง เบาหวาน เพื่อมาเข้าร่วมกิจกรรมตามวันและเวลาที่กำหนด
1. ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติ
2. กิจกรรมในคลินิกโรคเรื้อรังเบาหวาน-ความดัน เดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันจันทร์ที่ 3 ของเดือน
3. กิจกรรมคัดกรองไต ในผู้ป่วยเรื้อรังทั้งหมด
4. กิจกรรมตรวจ ตา เท้า ในผู้ป่วยเบาหวานพร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับโรคที่เป็น
ขั้นสรุปผลดำเนินการ
๑.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และญาติผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้
2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค
3. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้าตาลได้ร้อยละ 40
4. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันได้ร้อยละ 50
5. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 13:19 น.