โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านทับหลวง |
วันที่อนุมัติ | 24 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 72,604.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมาซีเตาะห์ กาแลฮือมิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.61,100.833place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย มักระบาดในช่วงหน้าฝนโดย มีพาหะของโรคคือยุงลาย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กวัยเรียนช่วงอายุ 10 - 14 ปี บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ พื้นที่เขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านทับหลวง เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จำนวน 3 หมู่บ้าน จากข้อมูล โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทับหลวง เป็นพื้นที่หนึ่งที่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง สรุปข้อมูลอัตราป่วยต่อแสนประชากรในปี 2563 เท่ากับ 0.00 (0 ราย),ปี 2564 เท่ากับ 0.00 (0ราย) ปี 2565 เท่ากับ 58.95 (3 ราย) ปี 2566 เท่ากับ 432.3 ( 22 ราย ) และปี 2567 เท่ากับ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2567) และปัจจุบันได้เกิดโรคระบาดรุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทับหลวง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชน โรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่และป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน 3.เพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 5.เพื่อมีความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในพื้นที่ในการรักษาความสะอาดบ้านเรือนและชุมชนของตนเอง 6.เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานโดยการรักษาความสะอาดของบ้านเรือนและเป็นบ้านตัวอย่างที่ดีในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ 1.ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 2.อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ลดลงร้อยละ 90 3.ชุมชนและโรงเรียนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อ มิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน 5. มีบ้านตัวอย่าง “บ้านสะอาดปลอดยุง” เป็นแบบอย่างให้กับชุมชน 6. จำนวนผู้ป่วยในหมู่บ้านลดลง และไม่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 7. ดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่า ร้อยละ 10 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ขั้นก่อนดำเนินการ 1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการดำเนินงาน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.3 ชี้แจง/ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ
- ขั้นการดำเนินการ
2.1.กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในวัด สำนักสงฆ์ มัสยิด บาลา โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.2 ดำเนินการพ่นหมอกควัน เมื่อมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกหรือในกรณีมีการระบาด (๒ ครั้ง/คน) 2.3 กิจกรรมเดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน โดยมีแกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านทัพหลวง,นักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยเต่า, นักเรียนโรงเรียนบ้านทับยาง,แกนนำประจำครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) หมู่บ้านละ 80 คน
2.4 กิจกรรมประกวดบ้านต้นแบบ 3. ประเมินโครงการ 4. สรุปผลโครงการ/รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและนักเรียนในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านทับหลวง
- ชุมชนและโรงเรียน ร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออก
- ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก
- สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน 5.สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านของประชาชนไม่เอื้อต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 13:30 น.