โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลสารเสพติด ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลสารเสพติด ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3009-02-6 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมพลังคนรุ่นใหม่ตำบลกะมิยอ ม.4 |
วันที่อนุมัติ | 24 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 24 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซอฟียะห์ สามะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ม.4 ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.856471,101.316198place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ยาเสพติดในสังคมไทยมีมาตั้งแต่ช้านาน ปัจจุบันปัญหายาเสพติดกำลังแพร่ระบาดและขยายไปทั่วประเทศมากขึ้น และก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นมามากมาย ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ บั่นทอนความเจริญของประเทศชาติ การที่เราให้ความสนใจในเรื่องความเป็นมาของยาเสพติดนั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะถ้าเรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากเราก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ แม้จะช่วยไม่ได้มากก็ตาม โดยส่วนมากผู้ติดยามักเริ่มจากด้วยความอยากรู้ ความอยากลอง และความคึกคะนองเป็นส่วนใหญ่อีกทั้งสภาพแวดล้อม สังคม และค่านิยมในกลุ่มเป็นแรงผลักดันอีกชั้นหนึ่ง ประกอบกับหาซื้อได้ง่าย ทำให้จำนวนผู้ติดยาเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้จะถูกบรรจุลงในวาระแห่งชาติก็ตาม แต่ก็ยังมีข่าวออกมาให้เห็นกันอยู่ตามสื่อต่าง ๆ ตลอด ซึ่งล้วนก่อความเสียหายให้กับประเทศชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการปล้นชิงหรืออาชญากรรม ล้วนนำมาซึ่งความสูญเสีย กลุ่มเยาวชนจะติดยาเสพติดมากกว่ากลุ่มคนกลุ่มอื่น และที่น่าเป็นห่วงมากก็คือจากเดิมที่ผู้เสพส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงของวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่ปัจจุบันพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของผู้เสพที่อยู่ในวัยนักเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะเกิดจากถูกเพื่อนชักจูงให้ลองเสพ อยากรู้ อยากลอง ถูกล่อลวง และสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือการขาดความอบอุ่นในครอบครัว พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ ปัญหาพ่อแม่หย่าร้างกัน ผู้ใหญ่ไม่ได้สนใจดูแลหรือเป็นที่พึ่งของเด็กได้ เด็กเกิดความว้าเหว่ไม่รู้จะปรึกษาใคร เลยหันไปหายาเสพติด หรือเป็นเป้าล่อให้กับผู้ไม่ปรารถนาดีอย่างพอดี สภาเด็กและเยาวชนตำบลกะมิยอจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งต้องให้ความรู้ความเข้าใจ ปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยให้เหมาะสมกับวัย โดยใช้ช่องทางการเข้าถึง ซึ่งหัวใจสำคัญที่ทำให้เด็กและเยาวชนในตำบลให้มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งคณะกรรมการสภาเด็กและเยาวชนตำบลกะมิยอ ได้มีการสะท้อนปัญหาของเด็กและเยาวชนตำบลกะมิยอ ได้เกิดความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด ตลอดจนเห็นความสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลกะมิยอ เติบโตขึ้นไปเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศไทยต่อไปในภายภาคหน้า ดังนั้น ชมรมพลังคนรุ่นใหม่ตำบลกะมิยอ ม.4 ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าทุกภาคส่วนของสังคมควรมีบทบาทในการแก้ปัญหาร่วมกัน การปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอ และจะทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จึงได้จัดกิจกรรม โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลสารเสพติดขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลกะมิยอ รู้เท่าทันภัยของยาเสพติด ทำให้รู้สถานการณ์ของยาเสพติด เด็กและเยาวชนมีความรู้ รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจให้กับเด็กและเยาวชนในเรื่องของยาเสพติด ร้อยละ 80 |
||
2 | เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล ในการต่อต้านและเร่งปราบปรามยาเสพติด มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยร้อยละ 80 คน |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 80 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติด และสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดของประเทศไทย | 40 | 7,000.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าตอบแทนวิทยากร | 40 | 3,000.00 | - |
- เด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติด
- เด็กและเยาวชนมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดจากยาเสพติด ปัญหาชีวิต ปัญหาสุขภาพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาอันอาจะเกิดขึ้นได้กับตนเองและคนรอบข้าง
- มีเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชนห่างไกลยาเสพติดและขยายผลต่อเนื่องไปยังเยาวชนในตำบลกะมิยอ
- มีกลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 10:28 น.