กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้า จิตเภท และเฝ้าระวังปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ
รหัสโครงการ 68 – L8300 -1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 10,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไซนะ มรรคาเขต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของระบบสุขภาพประเทศไทย โดยประมาณการว่าประชากร ๑ ใน ๕ มีปัญหาสุขภาพจิตจากรายงานสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โรคจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่นับวันมีจำนวนมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งโรคจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้และพฤติกรรม บกพร่องในการดูแลตนเอง ขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา
จากสถิติโรงพยาบาลแว้ง ปีงบประมาณ 2567 มีจำนวนผู้ป่วยโรคทางจิตเวชเข้ารับบริการ เดือนละประมาณ    145 ราย มีผู้ป่วยที่เข้ามารับการคัดกรองจึงพบรายใหม่เดือนละ 2-3 ราย ผู้ป่วยทางจิตเวช(F20-F29)เข้าถึงบริการโรงพยาบาลแว้ง ปี 2565–2567      จำนวน 697,722,750 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้า ปี 2565–2567 จำนวน 856,872,928 ราย ตามลำดับ  สาเหตุจากสารเสพติด พันธุกรรม ครอบครัว เศรษฐกิจและการศึกษา จากการทบทวนพบว่าเมื่อผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการรักษาติอเนื่องอาการทางจิตสงบสักระยะ  มีปัญหาว่างงาน มีอาการทางจิตกำเริบ ขาดผู้ดูแลหลัก รับยาไม่ต่อเอง ทำให้รับยาไม่ต่อเนื่องมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ เสี่ยงต่อการก่อเหตุรุนแรง    ต่อตนเอง ผู้อื่น สิ่งของ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความความรู้สึกชุมชนปลอดภัย ดังนั้นกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลแว้ง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการโรคจิตเวช ซึมเศร้า และเฝ้าระวังปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการเพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีความรู้ ความเข้าใจโรคทางจิตเวช ซึมเศร้า มีทักษะในการคัดกรอง ประเมิน ติดตาม ดูแล รักษา และส่งเสริมศักยภาพ ฟื้นฟูทักษะการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ยืนอยู่ในสังคมได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการ ไม่มีอาการกำเริบซ้ำ

-ร้อยละ 70 ผู้ป่วยจิตเวชรับยามาตามนัด - อัตราผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการกำเริบซ้ำ ≤ 5 คนต่อปี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 13:46 น.