หนูน้อยฟันสวย
ชื่อโครงการ | หนูน้อยฟันสวย |
รหัสโครงการ | 68-L-1505-2-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านควนยาง |
วันที่อนุมัติ | 1 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,252.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุดาพร มุสิกพันธ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวอะติมา เหมนแก้ว |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงเรียนบ้านควนยาง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย | 0.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไป ก็มีปัจจัยร่วมหลายๆ อย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปากเช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเองการอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน
โรงเรียนบ้านควนยาง จึงได้คิดที่จะกระตุ้นความสนใจของเด็ก ให้หันมาสนใจและได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันมากขึ้น เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ฟันแท้กำลังงอกขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ดังนั้นถ้าเด็กได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ก็จะสามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตัวเองได้เป็นอย่างดี โดยได้จัดกิจกรรมที่สนุก เน้นการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ เพื่อให้เด็กได้รู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและยากอย่างที่คิดและเพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 100 คนได้มีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความสะอาดในช่องปาก และฟัน คิดเป็นร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจการแปรงฟัน ดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี นักเรียนร้อยละ 80 รู้จักและเข้าใจการแปรงฟัน ดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี |
0.00 | |
3 | เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนร้อยละ 80 นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | โครงการหนูน้อยฟันสวย | 0 | 12,252.00 | - | ||
รวม | 0 | 12,252.00 | 0 | 0.00 |
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
- นักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
- นักเรียนมีสุขภาพในช่องปากและฟันดีขึ้นตามลำดับ
- นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดขยายผลต่อเพื่อนและผู้ใกล้ชิดได้อย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2568 14:23 น.