กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 60L302216
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรังมดแดง
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2016
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2017 - 31 สิงหาคม 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรังมดแดง
พี่เลี้ยงโครงการ นางเต็มดวง วงศา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.701place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความดันโลหิตสูงนับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากซึ่งในปี๒๕๕๙ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านรังมดแดง จาการคัดกรองผู้ที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๔๘๔ คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๗๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๔๙ พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน ๓๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖.๑๘ ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแลส่วนปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะเบาหวานก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดามารดามีภาวะปกติส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อมเช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัดดื่มสุราจัด มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เช่นกัน การแสดงอาการเนื่องจากความดันโลหิต เบาหวานในกลุ่มเสี่ยง จะค่อยสูงขึ้นและร่างกายก็ค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับภาวะความดันโลหิต น้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบหากไม่ ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจเลือดยกเว้นในรายที่มีอาการสูงมากอาจมีอาการปวดตึงท้ายทอยหรือปวดศีรษะรุนแรงเนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวานส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัวดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เบาหวานก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมองและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานว่าเป็น “ภัยเงียบ” หรือ “ฆาตกรเงียบ” นั่นเอง
ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านรังมดแดง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีสุขภาพที่ดีมีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒.๑เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

๙.๑ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง (Pretest/Posttest) ร้อยละ๘๐

2 ๒.๒เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้

๙.๒ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืนร้อยละ๘๐

3 ๒.๓เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงสูงป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อน

๙.๓ เกิดเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมคณะทำงาน ๑.๑เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ ๑.๒จัดหาวิทยากรและจัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรม ขั้นดำเนินการ ๑. จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและตรวจสุขภาพซักประวัติชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงวัดความดันโลหิต ๒.ประเมินผลโครงการ ดังนี้ ๒.๑ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสุขภาพจิตก่อนและหลังอบรมเกณฑ์ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ขั้นประเมินผลโครงการ ๒.๒พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่อง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการการออกกำลังกายเกณฑ์ร้อยละ ๘๐ มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องติดตาม หลังการอบรม ๖ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๙.๑ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง (Pretest/Posttest) ร้อยละ๘๐ ๙.๒ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืนร้อยละ๘๐ ๙.๓ เกิดเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2017 11:44 น.