โครงการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน NCDs เทศบาลตำบลย่านตาขาว
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน NCDs เทศบาลตำบลย่านตาขาว |
รหัสโครงการ | 68-L8291-01-25 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลย่านตาขาว |
วันที่อนุมัติ | 22 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 35,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเพ็ญบุญญา พานิช นายแพทย์ชำนาญการ(ด้านเวชกรรม)รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลย่านตาขาว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.406,99.674place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรค NCDs เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคไต เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรไทย โดยในปี พ.ศ.2566 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเหล่านี้ประมาณ 400,000 รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 74 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าในทุกๆ ชั่วโมงจะมีคนไทยเสียชีวิตจากโรค NCDs กว่า 45 ราย จากสถิติกรมควบคุมโรคและกรมการแพทย์ พบว่า ในจำนวนนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง โดยมีผู้ป่วยมากกว่า 740,000 รายต่อปี มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 70,000 ราย หรือเฉลี่ยประมาณ 8 รายต่อชั่วโมง นอกจากนี้ ยังพบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรสูงวัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพ และลดผลิตภาพของแรงงาน นอกจากผลกระทบด้านสุขภาพและโรค NCDs ยังเป็นภาระทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล โดยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึง 62,138 ล้านบาท ในปี 2560 ซึ่งคิดเป็นเกือบ 50% ของงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปีเดียวกัน จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2562 ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก NCDs มีมูลค่าสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โรค NCDs เป็นภัยคุกคามที่รุนแรงต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศ หากไม่มีมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ปริมาณผู้ป่วยและภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ควรให้ความร่วมมือในการส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดภาระด้านสุขภาพและเศรษฐกิจจาก NCDs ได้ในระยะยาว
จากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว ของกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลย่านตาขาว ปีงบประมาณ 2568 พบว่า ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงพบกลุ่มเสี่ยง จำนวน 1,056 ราย ผลการคัดกรองโรคเบาหวานพบกลุ่มเสี่ยง จำนวน 538 ราย และพบกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 23 ราย กลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน จำนวน 13 ราย และยังพบผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้รักษาต่อเนื่องอีกจำนวนหนึ่ง การมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม การรับประทานอาหารเค็ม มัน หวาน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูงเรื้อรัง ดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่เป็นประจำ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดโรคดังกล่าว หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ เข้ารับการคัดกรองภาวะสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จะสามารถดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ลดโอกาสการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคตได้
กระทรวงสาธารณสุขได้วางนโยบายลดปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยรณรงค์ “โครงการคนไทยห่างไกล NCDs” ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยในผู้ป่วยรายเก่า และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนและของประเทศ โดยมีการดำเนินงานโครงการคนไทยห่างไกล NCDs โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่
1. อสม. ถือเป็นกลไกที่สำคัญดังคำกล่าว “NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม.”
2.“ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs” เป็นสถานที่ในการปฏิบัติงานของอสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับตำบลทำหน้าที่ประเมินสุขภาพประชาชน จัดอบรมหลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อน ให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพ ผู้ที่น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ รวมทั้งบริการส่งต่อผู้ที่สงสัยป่วยไปยังคลินิก NCDs รักษาหาย และรับผู้ป่วย NCDs ที่ควบคุมอาการได้้ดีจากคลินิก NCDs รักษาหาย กลับมาดูแลต่อเนื่อง
3. ศูนย์ป็องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน (NCDs Prevention Center) จัดตั้งที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
4. คลินิก NCDs รักษาหาย จัดตั้งที่โรงพยาบาลทุกระดับ เพื่อให็สามารถควบคุมอาการของโรคได้โดยไม่ใช้ยา หรือใช้ยาให้น้อยที่สุด
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs และดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลย่านตาขาว เห็นความสำคัญในการจัดตั้ง “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs” ตำบลย่านตาขาว ให้เป็นสถานที่ขับเคลื่อนโครงการคนไทยห่างไกล NCDs แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลย่านตาขาว มุ่งเน้นการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยมีอสม.ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร ครู ข อบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับประชาชน มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาเพื่อให้การดูแลแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมขึ้น และขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้ง “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ตำบลย่านตาขาว” ในครั้งนี้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ครู ข นำความรู้ไปอบรมประชาชนในการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคติดต่อเรื้อรัง
|
||
2 | เพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชน กลุ่มเสี่ยง ให้มีความรู้และทัศนคติที่ดี มีทางเลือกและแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
|
||
3 | เพื่อดูแลกลุ่มป่วยที่รักษาโดยการควบคุมอาหาร ให้มีความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ให้ต้องกลับมารักษาด้วยยาต่อ
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 1665 | 35,000.00 | 0 | 0.00 | 35,000.00 | |
1 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพเครือข่ายแกนนำป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน | 35 | 9,450.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและส่งเสริมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพในชุมชน | 1,630 | 25,050.00 | - | - | ||
1 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมสรุปผลโครงการ | 0 | 500.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 1,665 | 35,000.00 | 0 | 0.00 | 35,000.00 |
- เพิ่มศักยภาพ อสม.ในการคัดกรอง ส่งเสริม ป้องกันควบคุมโรค NCD
- ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลย่านตาขาว มีศูนย์การเรียนรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย มีความรู้และทัศนคติที่ดีมีทางเลือกและแนวทางปฏิบัติ ในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยตนเองได้
- สามารถจัดกิจกรรมดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงใน“ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ตำบลย่านตาขาว” โดยใช้กระบวนการกลุ่มเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สร้างความเข้มแข็งในชุมชนในการจัดการความเสี่ยงต่อโรค NCDs
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2568 12:18 น.