กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายด้วยการรำไทย 4 ภาค ช่วยพัฒนาร่างกายและสมอง
รหัสโครงการ 68-L8291-02-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงศกร ต่อสกุล ประธานชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลย่านตาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันรูปแบบของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ มีอยู่หลากหลายประเภท ล่าสุด “การฟ้อนรำ 4 ภาค” ตามท่วงทำนองดนตรีพื้นบ้าน ก็ถูกนำมาใช้ในการเอกเซอร์ไซส์ เพื่อสร้างความแข็งแรง ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้กับคนสูงวัย ที่สำคัญยังเป็นรูปแบบของการโยกย้ายส่ายสะโพก ที่คนรุ่นปู่ย่าตายายค่อนข้างถนัดและไม่รู้สึกขัดเขิน เมื่อต้องมายืนออกกำลังในที่สาธารณะ แถมบางรายยังบอกว่าดีเสียอีก เพราะอย่างน้อยลูกๆ หลานๆ จะได้ชื่นชมท่าร่ายรำที่เป็นภูมิปัญญาของคนรุ่นตายายยังสาว เพื่ออนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย มีข้อมูลเกี่ยวกับการเอกเซอร์ไซส์ด้วยท่าฟ้อนรำ ที่ช่วยลดโรค “NCD” หรือโรคไม่ติดต่อรื้อรังในคนสูงวัย อธิบายว่า “สำหรับการเลือกออกกำลังกาย ด้วยการ “ฟ้อนรำ4ภาค”เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวอวัยวะร่างกายตามจังหวะเสียงเพลง แน่นอนจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ข้อต่อต่างๆ ตลอดจนกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายได้ทำงานเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นท่าทางฟ้อนรำแบบไหน เช่น การฟ้อนรำที่ประยุกต์เรื่องนาฏศิลป์เข้าไป ซึ่งเรียกได้ว่าทุกๆ รูปแบบของการออกกำลังกายด้วยท่าร่ายรำ ล้วนมีประโยชน์ต่อผู้สูงวัยแทบจะทั้งสิ้น เพราะแน่นอนว่าคนวัยเก๋าจะได้ใช้ทั้งหัว ตา ไหล่ แขน มือ นิ้ว ลำตัวที่ต้องโยกย้ายไปตามเสียงเพลง รวมถึงการเคลื่อนไหวหัวเข่า ขณะที่ต้องสลับขาเปลี่ยนท่า เรียกว่าได้ออกกำลังแทบทุกส่วน     ส่วนระยะเวลาของการฟ้อนรำเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม อันดับแรกก็ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของผู้สูงวัยแต่ละท่าน หรือถ้าเป็นไปได้ก็แนะนำให้ออกกำลังสัปดาห์ละ 150 นาที (คิดเป็นวันละ 30 นาที) หรือจะออกกำลังกายแบบสะสมก็ได้เช่นกัน เช่น ออกกำลังครั้งละ 10 นาที จากนั้นก็เปลี่ยนอิริยาบถไปทำงานบ้านอย่างอื่นและมาออกต่อก็ได้ และจะเอกเซอร์ไซส์แบบรวดเดียว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงก็ได้เช่นกัน หรือจะใช้วิธีง่ายๆ ว่าควรออกกำลัง เพื่อให้ชีพจรในร่างกาย ทำงานมากกว่าปกติ หรือชีพจรเต้นให้ได้ 80-90 ครั้งต่อนาที จากที่เคยเต้นอยู่ที่ 50-60 ครั้งต่อนาที เพราะจะทำให้หัวใจทำงานได้มากขึ้น ก็จะทำให้เลือดลมสูบฉีดและไหลเวียนได้ดี ก็จะไปเลี้ยงส่วนต่าง รวมถึงสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อนั้นร่างกายก็จะแข็งแรง     ทางชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลย่านตาขาวได้เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย“การฟ้อนรำ4ภาค”ซึ่งเป็นการอนุรักษ์นาฎศิลป์ไทย เช่น ภาคเหนือ ฟ้อนร่ม ภาคกลาง ฟ้อนรำเกี่ยวข้าว ฟ้อนเซิ้งกระติ๊บข้าว ภาคใต้ ฟ้อนรำคารีกีปัส ให้อยู่คู่กับคนไทยตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการฟ้อนรำ 4 ภาค อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการฟ้อนรำ 4 ภาค เพิ่มขึ้นหลังผ่านการอบรม

2 เพื่อทำให้สมองได้ใช้งานในการจดจำท่าทางในการรำ ป้องกันโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถจดจำท่าฟ้อนรำ 4 ภาค ได้อย่างถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 28,890.00 0 0.00 28,890.00
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการฟ้อนรำของแต่ละภาค 40 16,590.00 - -
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมทบทวนการฟ้อนรำของแต่ละกลุ่ม 40 8,200.00 - -
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมติดตามผลการฝึกอบรม 40 4,100.00 - -
รวมทั้งสิ้น 120 28,890.00 0 0.00 28,890.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุได้รับความสนุกสนานและเพื่อสร้างความแข็งแรง ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้กับคนสูงอายุ ที่สำคัญยังเป็นรูปแบบของการโยกย้ายส่ายสะโพก ด้วยท่าฟ้อนรำ ที่ช่วยลดโรค “NCD” หรือโรคไม่ติดต่อรื้อรังในคนสูงอายุป้องกันการหกล้ม การฟ้อนรำที่ประยุกต์เรื่องนาฏศิลป์จะทำให้เกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้เด็กได้รักษาสืบไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2568 13:56 น.