โครงการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกในผู้สูงอายุ (Bone Mineral Density BMD) ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกในผู้สูงอายุ (Bone Mineral Density BMD) ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1526-01-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 30 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 159,960.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเอกวัฒน์ นุมาศ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.798,99.563place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” (Ageing Society) ตั้งแต่ปี 2548 โดยมีประชากร อายุ 60 ปี ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญ คือ การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เนื่องจากอัตราการเกิดและและอัตราการตายของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชากรไทยมีอายุเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้น ในปีพ.ศ. 2567 ประเทศไทยมีประชากรรวมโดยประมาณ 65.97 ล้านคน มีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 13.30 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20.16 ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นทำให้มีโอกาสพบโรคเรื้อรังที่เกิดในผู้สูงอายุมากขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก ซึ่งได้มีการสำรวจความชุกของโรคกระดูกพรุนพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้ “โรคกระดูกพรุน” ซึ่งเป็นภัยเงียบใกล้ตัว กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับชาติ
การดูแลกระดูกที่ดีที่สุดไม่ใช่การรักษาแต่เป็นการป้องกันโรค เพราะ “โรคกระดูกพรุน” เป็นภาวะที่ความแข็งแกร่งของกระดูกลดลงร่วมกับการที่คุณภาพกระดูกลดลงด้วย ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น ซึ่งกระดูกส่วนที่มีโอกาสหักได้ง่ายจากภาวะกระดูกพรุน คือ กระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อมือ และกระดูกต้นแขนบริเวณหัวไหล่ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องจนอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต จากสถิติพบว่าในจำนวนผู้หญิงไทย ทุกๆ 3 คน และผู้ชายไทย ทุกๆ 5 คน จะมีหนึ่งคนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้
เนื่องจากโรคกระดุกพรุนในระยะเริ่มต้นจะไม่ปรากฏอาการผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงถึงระดับที่กระดูกเปราะและหักด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันแทพย์สามารถวินิจฉัยภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนในระยะเริ่มแรกได้โดยการวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง DEXA Scan[ Dual Energy X-Ray Absorption ]ซึ่งเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถตรวจพบการลดลงของเนื้อกระดูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและสามารถใช้ติดตามผลการรักษามีกระบวนการตรวจที่สะดวกสบายรวดเร็วมีวิธีการประเมินค่าที่ตรวจได้โดยอ้างอิงตามเกณฑ์มาตราฐานขององค์การอนามัยโลก เครื่องถูกออกแบบให้สามารถตรวจกระดูกได้หลายตำแหน่งแต่บริเวณที่เหมาะสมแก่การตรวจมากที่สุดคือบริเวณกระดูกที่รองรับน้ำหนักของร่างกายคือกระดูกสันหลังกระดูกสะโพกและกระดูกต้นขา
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบ จึงได้จัดทำ “โครงการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกในผู้สูงอายุ (Bone Mineral Density BMD) ปี 2568” เพื่อรณรงค์ให้ประชากรผู้สูงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการป่วยด้วยโรคมวลกระดูกพรุนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบ ให้ได้รับการตรวจค้นหาโรคกระดูกพรุนระยะเริ่มแรก ด้วยการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง DEXA Scan[ Dual
Energy X-Ray Absorption ] ซึ่งเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพสูงหากพบก็จะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
20 มิ.ย. 68 | โครงการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกในผู้สูงอายุ (Bone Mineral Density BMD) ปี 2568 | 120 | 159,960.00 | - | ||
รวม | 120 | 159,960.00 | 0 | 0.00 |
.ผู้สูงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อโรคกระดูกพรุนได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องDEXA Scan[ Dual Energy X-Ray Absorption ] เพื่อตรวจค้นหาโรคกระดูกพรุนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว 2. คนที่ตรวจพบโรคกระดูกพรุน ได้รับบริการตรวจรักษาและส่งต่อที่เหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2568 11:23 น.