กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นตำบลบาเจาะ
รหัสโครงการ 68-L4127-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2568
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสูรียา อาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
75.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
85.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)
85.00
4 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)
75.00
5 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
65.00
6 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น
85.00
7 ร้อยละแผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล
90.00
8 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
85.00
9 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
85.00
10 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม
85.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” (Aged Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กล่าวคือ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๕ ของประชากรทั้งประเทศเมื่อสิ้นปี  พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา และคาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ ๒๐ ใน พ.ศ.๒๕๖5 กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) จากการสำรวจของกรมอนามัย (๒๕๕๖) พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ ๙๕ เจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและพึ่งพิง และมีผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ ๑นอกจากนั้นยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับสูงแต่ต้องดูแลตนเองหรือไม่มีคนดูแลถึงร้อยละ ๑๓ ในกลุ่มเดียวกัน รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ มีเป้าหมายสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และหากผู้สูงอายุอยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม กระทรวงมหาดไทยได้ขับเคลื่อนโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามแนวทางที่เกี่ยวข้อง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะได้ดำเนินการตามแนวทางและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสุขภาพพื้นฐาน การฟื้นฟูสมรรถภาพและกายภาพ ซึ่งตำบลบาเจาะมีประชากรทั้งหมด 9,522 คนพบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน 822 คน คิดเป็นร้อยละ 8.63 ของประชากรจากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอลโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะพบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มที่ติดเตียง จำนวน 4 คน และกลุ่มติดบ้าน จำนวน 16 คน ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือทั้งด้านบริการสาธารณสุขและด้านสังคม โดยเฉพาะกลุ่มติดเตียง ถึงแม้จะมีคนในครอบครัวดูแล แต่ก็เป็นภาระของผู้ดูแลไม่น้อย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นตำบลบาเจาะขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล  บาเจาะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดภาระของครอบครัว

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นตำบลบาเจาะ ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ณ ที่ครัวเรือน และเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

75.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว ลดลง

85.00 90.00
3 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ลดลง

85.00 90.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

75.00 85.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

65.00 80.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

85.00 90.00
7 เพื่อเพิ่มการอนุมัติและนำแผนการดูแลรายบุคคล(CP)ไปปฏิบัติ

แผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล เพิ่มขึ้น

90.00 95.00
8 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

85.00 90.00
9 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

85.00 90.00
10 เพื่อลด จำนวนผู้สูงอายุที่ติดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม  ลดลง

85.00 90.00
11 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ณ ที่ครัวเรือน

ร้อยละผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุข โดย อสบ.

80.00
12 เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

ร้อยละผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 การดำเนินงานตามแผน (D)(1 พ.ค. 2568-1 พ.ค. 2568) 20,000.00          
รวม 20,000.00
1 การดำเนินงานตามแผน (D) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 20,000.00 0 0.00 20,000.00
1 พ.ค. 68 - 1 ก.ย. 68 กิจกรรมสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นตำบลบาเจาะ 10 20,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 10 20,000.00 0 0.00 20,000.00

๔. ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีดำเนินการ
1. สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ และประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และสรุปข้อมูลผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมิน เอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 2. ปรึกษาปัญหารายกรณีกับ CMเพื่อประกอบการจัดทำโครงการ 3. จัดทำข้อเสนอโครงการและเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ 4. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และครุภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็นตามแผนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ 1. ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ และครุภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็นแก่อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2. คณะที่ปรึกษาพร้อมคณะทำงานลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 3. อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน การฟื้นฟู สมรรถภาพและกายภาพ รวมถึงการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น 1 คนต้องปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไม่เกิน 4 คนต่อวันๆละ 8 ชั่วโมง จำนวน 20 วันต่อเดือน การประเมินผล 1. อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ณ ที่ครัวเรือนตามแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล (Care plan) 2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ณ ที่ครัวเรือน
  2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ