โครงการมารดาสุขภาพดีลูกน้อยภูมิคุ้มกันแข็งแรง (นวดเต้านมมารดาหลังคลอด) ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการมารดาสุขภาพดีลูกน้อยภูมิคุ้มกันแข็งแรง (นวดเต้านมมารดาหลังคลอด) ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-l2519-1-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด |
วันที่อนุมัติ | 27 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 13,690.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางศิราณี อับดุลรามัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.906,101.912place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 13,960.00 | |||
รวมงบประมาณ | 13,960.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (13,960.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (13,690.00 บาท)
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
นมแม่ดีที่สุด “เพราะสุดยอดอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับทารก ซึ่งคุณแม่บางท่านก็อาจพบปัญหารน้ำนมน้อยจึงตองใช้วิธี “นวดเต้านม”เพื่อช่วยกระตุ้นการทำวานของท่อ เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม โดยการกระตุ้นท่อน้ำนมในต่อมน้ำนม “นมแม่”มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุดและยังภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ได้อีกด้วย นมแม่มีความจำเป็นต่อทารกในช่วง 6 เดือนแรก มีมารดาจำนวนมากที่ยังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อไปหลังจากพ้น 6 เดือนแรก ควบคู่กับการให้อาหารตามวัยแต่คุณแม่ให้นมบุตรคสรให้ความสำคัญกับคุณภาพของน้ำนมด้วยการทานอากหารที่มีประโยชน์ และครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อมารดาทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจ ช่วยลดการตกเลือดในระยะแรกหลังคลอด ลกความเสี่งของการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ รวมทั้งลดโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัวและประหยัดเวลาในการเตรียมนมผสม ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และลดภาวะโลกร้อนจากขยะที่เกิดจากการใช้นมผสม นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความเสี่ยงต่ออันตรายต่อทารกที่ช่วงอายุครรภ์ต่างๆ พัฒนาการของตัวอ่อนและการเจริญของทารกในครรภ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเป็นทารกในครรภ์ที่สมบูรณ์ ทุกช่วงอายุครรภ์ล้วนมีความสำคัญ อาจส่งผลต่อความสมบูรณ์ในการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบถึงทารกภายหลังคลอดแล้ว ตลอดจนทำให้ทารกในครรภ์ผ่านการสัมผัสยาซึ่งยาบางอย่างกระตุ้นภูมิต้านทานและอาจส่งผลให้เกิดการแพ้ยาในภายหน้าแม้ตนเองพึ่งได้รับยาเป้นครั้งแรก ด้วยเหตุนี้จึงมีคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงหรือห้ามใช้ยาบ้างชนิดตลอดช่วงอายุครรภ์หรืออาจเจาะจงเฉพาะบางช่วงของอายุครรภ์เท่านั้น มียาหลายอย่างที่ผ่านรกได้ซึ้งบางอย่างอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นช่วงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาไม่ว่าชนิดใดแม้จะเป็นยาที่ถือว่าหญิงตั้งครรภ์ใช้ได้ก็ตาม ให้พึ่งระลึกไว้เสมอว่าไม่มียาใดที่ปลอดภัย 100% สำหรับมารดาตั้งครรภ์ ด้วยเหตุจึงควรใช้เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นเมื่อประเมินแล้วว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยามีสูงกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์อย่างมาก เช่น ยาต้านฮีสตามีน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดน้ำมูก (เฉพาะยาบางตัว) รักษาโรคภูมิแพ้ ยาที่หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ได้หากจำเป็น ได้แก่ คลอร์เฟนิรามีน (choorpheniramine) ไดเฟรไฮดรามีน (diphenhydramine) ยานี้มีฤทธิ์บรรเทาอาการไอและบรรเทาอาการคลื่นไส้ - อาเจียนด้วย ทั้งนี้ให้ระวังหากใช้ในขนาดสูงจะมีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัวและยาผ่านรกได้ ส่วนยาอื่น เช่น ลอราทาดีน (loratadine) ควรใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากข้อมูลการใช้ในหญิงมีครรภ์มีจำกัดแม้ข้อมูลจากสัตว์ทดลองจะคาดว่ามีความเสี่ยงต่ำที่จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์,เซทิริซีน (cetirizine) ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในไตรมาสที่ 1 ส่วนไตรมาสอื่นควรใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากข้อมูลการใช้ในหญิงมีครรภ์มีจำกัดแม้ข้อมูลจากสัตว์ทดลองจะคาดว่ามีความเสี่ยงต่ำที่จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์, เฟกโซเฟนาดีน (fexofenadine) ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากข้อมูลการใช้ในหญิงมีครรภ์มีจำกัด โดยทั่วไปยาใช้ภายนอกเป็นยาที่หญิงมีครรภ์สามารถใช้ได้ เพื่องลดความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรใน 6 เดือนแรก หญิงมีครรภ์ควรให้ความสำคัญในการรักษาสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วยเพื่องหลีกเลี่ยงการใช้ยา (ข้อมูลจาก: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล .การใช้ยาในหญิงมีครรภ์.สืบค้น 25 มีนาคม 2568,จาก http://pharmacy.mahidol.ac.th จึงจัดกิจกรรมทำผลิตภัณฑ์ พิมเสนน้ำ เพื่อใช้ในการบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก เบื่องต้น ซึ่งประกอบด้วย พิมเสน การบูร เมนทอล น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันหอมระเหยกลิ่นพิกุล ดอกพิกุลแห้ง มีสรรพคุณ กระตุ้นการหายใจ แก้หวัด คัดจมูก บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ บรรเทาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด ได้เห็นถึงความสำคัญในการใช้ยาของมารดาตั้งครรภ์และมารดาให้นมบุตร เพื่องลดการใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาลดอาการเวียนศีรษะฯลฯ ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการมารดาสุขภาพดีลูกน้อยภูมิคุ้มกันแข็งแรง (นวดเต้านมมารดาหลังคลอด) ปี 2568 และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของประชาชนในตำบลฆอเลาะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อส่งเสริมการใช้ความรู้การแพทย์แผนไทยในการส่งเสริมป้องกัน ดูแลรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ
|
||
2 | 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริการด้านแพทย์แผนไทยด้านการผดุงครรภ์และสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองได้
|
||
3 | 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนลดการใช้ยาในมารดาตั้งครรภ์และมารดาให้นมบุตร
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
กิจกรรม 1. จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการนวดเต้านมด้วยตัวเอง (กลุ่มเป้าหมาย มารดาตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด จำนวน 30 คน) 2. กิจกรรมสาธิตและปฏิบัติการทำผลิตภภัณฑ์ - ลูกประคบเต้านม (ลดอาการคัดตึงเต้านม)
- มารดาตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดได้รับความรู้ ความเข้าใจการนวดเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้องและปลอดภัย
- มารดาตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดมีความรู้ มีทักษะในการนวดเต้านมด้วยตนเอง
- ผู้ร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรุยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน
- มารดาตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดให้ความสำคัญในการรักษาสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2568 10:27 น.