โครงการผักปากจ่า ปลอดภัยใส่ใจคุณภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการผักปากจ่า ปลอดภัยใส่ใจคุณภาพ |
รหัสโครงการ | 68-L5170-2-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ผู้อำนวยการโรงเรียนปากจ่าวิทยา |
วันที่อนุมัติ | 29 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอรณัฏฐ์ สุริยะพิชิตกุล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.229,100.402place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน ปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้างเป็นประเด็นสำคัญระดับประเทศ ผู้ผลิตบางรายมองเห็นแต่ปริมาณและรายได้ที่ได้มาโดยไม่คำนึงถึงโทษที่ตามมากับผู้บริโภค จากสถิติการเข้ารับการดูแลอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นที่ห้องพยาบาลโรงเรียนปากจ่าวิทยา พบว่านักเรียนบางส่วนได้รับสารเคมีเข้ามาในร่างกายจากการทานผักและผลไม้ที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีซึ่งจะไปทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้เจ็บป่วยง่าย ไม่แข็งแรง ส่งผลให้ขาดเรียนบ่อย เยาวชนไทยจึงควรได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการผักปากจ่าปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนปากจ่าวิทยาและนักเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง ได้เรียนรู้วิธีการปลูกพืชผักที่ปราศจากสารเคมีอันตราย เป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารปลอดภัย และยังเป็นการปลูกฝังทักษะการเกษตรที่ยั่งยืน นอกจากนี้ โครงการนี้ยังสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักการพึ่งพาตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ และการจัดการ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ 1.1 นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษในระดับดี (วัดจากแบบทดสอบความรู้) 1.2 นักเรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการปลูกผักปลอดสารพิษได้อย่างถูกต้อง |
||
2 | 2.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการปลูกผักปลอดสารพิษ 2.1 นักเรียนร้อยละ 100 มีส่วนร่วมในกิจกรรมการปลูกผัก 2.2 นักเรียนสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จร้อยละ 85 |
||
3 | 3.เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารปลอดภัย 3.1 นักเรียนร้อยละ 80 มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคผักปลอดสารพิษ (วัดจากแบบสอบถามทัศนคติ) 3.2 มีนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการในปีถัดไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 |
||
4 | 4. เพื่อสร้างแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยในโรงเรียน 4.1 มีผลผลิตผักปลอดสารพิษอย่างน้อย 5 ชนิด รวมน้ำหนักไม่น้อยกว่า 100 กิโลกรัม 4.2 ผลผลิตที่ได้ผ่านการตรวจสอบสารพิษตกค้างในระดับปลอดภัย 100% |
||
5 | 5.เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและความรับผิดชอบ 5.1 นักเรียนร้อยละ 85 มีความพึงพอใจต่อการทำงานร่วมกันในระดับดี 5.2 อัตราการขาดงานของนักเรียนไม่เกินร้อยละ 10 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครงการผักปากจ่า ปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 10,000.00 | ||||||||||||
รวม | 10,000.00 |
1 โครงการผักปากจ่า ปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | 10,000.00 | |
1 - 30 มิ.ย. 68 | 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ - จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนโดยวิทยากรจากศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ชุมชน | 0 | 600.00 | - | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | 2.กิจกรรมจัดเตรียมพื้นที่และแปลงปลูก - เตรียมพื้นที่ปลูก และจัดทำแปลงปลูกแบบยกร่อง จำนวน 12 แปลง | 0 | 4,900.00 | - | - | ||
1 - 31 ก.ค. 68 | 3. กิจกรรมจัดซื้อเมล็ดพันธุ์และวัสดุการเกษตร - จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผักปลอดสารพิษ 10 ชนิด และวัสดุการเกษตรที่จำเป็น | 0 | 1,500.00 | - | - | ||
1 ก.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | 4. กิจกรรมปลูกและดูแลรักษา - นักเรียนปลูกและดูแลผักตามหลักเกษตรอินทรีย์ ทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ | 0 | 1,500.00 | - | - | ||
1 - 30 ก.ย. 68 | 5. กิจกรรมเก็บเกี่ยวผลผลิตและจัดนิทรรศการ - จัดกิจกรรมเก็บเกี่ยวผลผลิตและนิทรรศการแสดงความสำเร็จของโครงการ | 0 | 1,500.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | 10,000.00 |
- นักเรียน ร้อยละ 90 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและได้บริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษ
- นักเรียน ร้อยละ 90เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการปลูกผักปลอดสารพิษ
- นักเรียน ร้อยละ 90 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการทาเกษตรและมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 11:03 น.