กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสาสมัครสาธารณสุข ชวนนับคาร์บห่างไกลโรค NCDs
รหัสโครงการ 68-L3059-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพสต.มะนังดาลำ
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 27,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพสต.มะนังดาลำ
พี่เลี้ยงโครงการ อัสมิน หายีนิเงาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.649,101.599place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 พ.ค. 2568 7 พ.ค. 2568 27,700.00
รวมงบประมาณ 27,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น จากการสำรวจภาวะสุขภาพของประเทศครั้งที่ 5 ปี 2557 พบความชุกผู้ป่วยเบาหวาน 8.8 % และพบผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มี HbA1C > 7 % ปัญหาที่ทำให้ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ มักอยู่ที่พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมาก และมีความจำเป็นมากที่ผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้หรือผู้ที่ฉีดอินซูลิน ได้มีการนำเสนอรูปแบบของสัดส่วนอาหารคาร์โบไฮเดรตหลายวิธี เพื่อสื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าใจและสามารถนับปริมาณอาหารคาร์โบไฮเดรตที่รับประทาน มีทั้งเป็นรูปภาพ โมเดล และการแสดงของจริง ซึ่งก็สามารถทำให้ผู้ป่วยและผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานมีความเข้าใจการนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น
        อาหารเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนมีสุขภาพดีหรือเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้ ยังใช้อาหารเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันหรือรักษาบำบัดโรค ดังนั้น ทุกคนควรมีความรู้เรื่องอาหารให้มากพอที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว หากสามารถให้คำแนะนำหรือชี้นำให้คนรอบข้างปฏิบัติได้ด้วย จะเป็นวิทยาทานที่เกิดประโยชน์ในวงกว้าง เพราะทำให้ประเทศไทยมีประชากรที่สุขภาพดี มีคนเจ็บป่วยน้อยลง สารอาหารที่เรียกว่า “คาร์โบไฮเดรต” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “คาร์บ” คือกลุ่ม“ข้าวแป้ง” เป็นสารตั้งต้นพื้นฐานของน้ำตาล “กลูโคส” ที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดและร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงานได้ง่าย เป็นสารอาหารที่ในแต่ละวันคนส่วนใหญ่บริโภคในปริมาณมากกว่าสารอาหารอื่น ๆ และมีโอกาสสูงที่จะบริโภคมากเกินจนส่งผลกระทบต่อระดับนน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและผู้ที่เสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน
        การเข้าใจ “คาร์บ” มากขึ้น รู้ว่ามีอยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง มีหน่วยนับและวิธีนับอย่างไร เลือกบริโภคอย่างไรให้ถูกต้องในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้การควบคุมเบาหวานดีขึ้นจากสมดุลของอาหารกับยา สำหรับผู้ที่เสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานสามารถป้องกันหรือยับยั้งไม่ให้เป็นโรคได้ อีกทั้งใช้ประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับคนทั่วไปด้วย         แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข จึงมีแผนการจัดการสุขภาพในพื้นที่เพื่อประชาชนในชุมชน ได้ห่างไกลโรค NCDs นั้น จึงจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ เข้าใจ และนำมาปฏิบัติตนเองในชีวิตประจำวันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ 2. เพื่อสร้างแกนนำในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงในชุมชน 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงได้รับการติดตาม/ประเมินภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  1. ผลงานการดำเนินงาน อสม.ชวนนับคาร์บ ร้อยละ 80
  2. ประชาชนกลุ่มโรค  กลุ่มเสี่ยง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาเองได้
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค
  2. แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
    3 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงได้รับการติดตาม/ประเมินภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 15:07 น.