กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง
รหัสโครงการ 68-L1544-01-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดสำราญ
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 11,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวรากร ปากอ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.256,99.552place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 28 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาของคนทั่วโลก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของ ประเทศไทย จากรายงานการตรวจราชการงาน สุขภาพจิตปีงบประมาณ 2567 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จประเทศไทยจากใบมรณบัตร พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2564, 2565, 2566อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ เท่ากับ 7.38, 7.97,8.0 ต่อประชากร แสนคน ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายสำเร็จ ในปีงบประมาณ 2567 สมมติฐานในคนไทยตามแนวคิด  TK model พบว่า ผู้ชายมีจำนวนการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าผู้หญิง 4 เท่า จำนวนของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ จะอยู่ในกลุ่มอายุ 20-59 ปี คิดเป็น ร้อยละ 70.95 แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบรายกลุ่มอายุ จะพบว่ากลุ่มวัยสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) เป็นกลุ่มที่มีการฆ่าตัวตายรายอายุ (Age specific death rate) สูงสุด (อัตรา 4.17 ต่อประชากรแสนคน)กลุ่มอาชีพที่มีจำนวนผู้ฆ่าตัวตายสูง คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน (ร้อยละ 36.8 ) รองลงมา คือ เกษตรกร ( ร้อยละ 25.1) และค้าขาย (ร้อยละ 4.6) วิธีการที่ใช้ พบว่า ร้อยละ 94 เป็นการแขวนคอ รองลงมา คือ การใช้ยากำจัดวัชพืช / ยาฆ่าแมลง (ร้อยละ 2.4) สารเคมี ( ร้อยละ 1.14 ) และอาวุธปืน ร้อยละ ( 1.05 ) ปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ป่วยโรคจิตเวชร้อยละ 23.0 (โรคจิตร้อยละ 10.5 และโรคซึมเศร้า ร้อยละ 10.5 ) 2) ติดสารเสพติด ร้อยละ 21.8 3) ติดสุรา  ร้อยละ 19.5 4) มีบุคลิกภาพหุนหันพลันแล่น ร้อยละ 17.4 5) เคยทำร้ายตนเอง ร้อยละ 10.9 6) ป่วยด้วยโรคทางกายรุนแรง/เรื้อรัง ร้อยละ 10.74 และ 7) Childhood trauma ร้อยละ 4.3 ส่วนปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ประสบปัญหาชีวิต หรือ มีเหตุการณ์วิกฤต ที่ติดว่า พ่ายแพ้ล้มเหลว อับอายขายหน้า อับจนหนทาง มีมากถึงร้อยละ 60.9 รองลงมาคือ เกิดจากฤทธิ์สารเสพติด ร้อยละ 20.7 อาการทางจิตกำเริบ ร้อยละ 20.2 และรับรู้ข่าวการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 5.1 มีการแสดงถึงสัญญาณเตือน การฆ่าตัวตาย ร้อยละ 39.6 จากข้อมูลจังหวัดตรัง อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ มีจำนวน 13 ราย อำเภอหาดสำราญจำนวน 5 ราย ตำบลหาดสำราญจำนวน 3ราย และพบผู้ป่วยในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดสำราญ  จำนวน 2 ราย
      สถานการณ์ผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำในระยะเวลา 1 ปี (ตุลาคม 2566– มีนาคม 2567) จากรายงานแบบรายงานการเฝ้าระวังผู้พยายามทำร้ายตนเอง รง 506S พบว่า ผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับมาทำร้าย ตัวเองซ้ำในระยะเวลา 1 ปี ร้อยละ 98.87 ซึ่งต้องมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการฆ่าตัวตายในพื้นที่มีการกำหนด มาตรการให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ โดยอาศัยญาติกลุ่มเสี่ยง ประชาชนในพื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจในสัญญาณเตือน การเฝ้าระวัง การจัดสิ่งแวดล้อมในป้องกันการฆ่าตัวตาย มีการพัฒนาเครือข่ายระดับหมู่บ้าน ตำบลเฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตายให้มีความเข้มแข็งบูรณาการร่วมกับ 3 หมอ/กลไก พชต. ในพื้นที่เสี่ยงสูงและเพิ่มช่องทางการสื่อสารสัญญาณเตือน/ช่องทางการขอความช่วยเหลือ/ความตระหนักคนใกล้ชิด/การจัดทำมาตรการป้องกันการเข้าถึงอาวุธที่ทำร้ายตนเองในระดับชุมชน เน้นเฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคทาง จิตเวชและยาเสพติดในคลินิก และการติดตามดูแลต่อเนื่องในชุมชน  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายเชิงรุกในพื้นที่และถอดบทเรียนในพื้นที่ดำเนินงาน  เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือทันเวลาเมื่อประสบปัญหา     ดังนั้น รพ.สต.หาดสำราญ ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยงขึ้น เพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการฆ่าตัวตายในพื้นที่มีการกำหนด มาตรการให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำชุมชนมีความรู้การคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
  2. ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2568 15:25 น.