กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยับกาย สบายชีวี สุขภาพดีด้วยโยคะ
รหัสโครงการ 68-L1544-02-013
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลหาดสำราญ
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 14,832.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปภาณิสรา วิภูษิตวรกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.256,99.552place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเร่งแก้ไขปัญหาการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยจาก ๕ โรคสำคัญที่เรียกว่า โรคไม่ติดต่อ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็ง แม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบประกันสุขภาพที่ได้รับการชื่นชมจากทั่วโลกก็ตาม แต่ที่ผ่านมาจะรองรับการดูแลรักษาการเจ็บป่วยเป็นส่วนใหญ่ จากสถิติในปี ๒๕๕๓ ทั้ง ๕ โรคมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัว ในโรงพยาบาล ๒ ล้านกว่าราย เสียชีวิตรวม ๑ แสนกว่าราย หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๕ ของผู้เสียชีวิตทุกสาเหตุทั่ว ประเทศที่มีประมาณ ๔ แสนราย สาเหตุการป่วยเกี่ยวข้องกับ ๒ ปัจจัย คือการขาดการออกกำลังกาย และเรื่องการ บริโภคอาหาร ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจะเน้นหนักให้ทุกจังหวัดเร่งแก้ไขและป้องกันการเจ็บป่วย ด้วย ๒ กิจกรรมหลัก สอดรับกับการบริหารหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ประชาชน มีสุขภาพแข็งแรง ประการ แรกคือการกระตุ้นให้คนไทยออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในคนไทยอายุ ตั้งแต่ ๑๑ ปี ขึ้นไปที่มี ๕๗.๗ ล้านคน ในปี ๒๕๕๔ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบประชาชน ๔๒.๖ ล้านคนไม่ออกกำลังกาย มีผู้เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายเพียง ๑๕.๑ ล้านคน หรือประมาณ ๑ ใน ๔ ของประชาชนทั้งหมด และ รอบ ๑ เดือนก่อนสำรวจ จำนวน ๑๗.๑ ล้านคน เป็นผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายมากถึงร้อยละ ๗๓ ขณะเดียวกันในผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่มี ๓.๒ ล้านคน พบว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายมากถึงร้อยละ ๗๖ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างชัดเจนว่า การไม่ออกกำลังกายทำให้มีโอกาสป่วยมากกว่าผู้ออกำลังกายถึง ๓ เท่า กรมอนามัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชนตามนโยบายและแนวทางการ ดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวข้างต้น และส่งเสริมให้กลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นวัยที่มักมีข้ออ้างว่าไม่มี เวลาว่าง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายในวัยนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก หันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับการรักษาและฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรอไปจากการทำงาน และขณะปฏิบัติงานจะต้องออกแรงซ้ำๆ กับกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณที่ใช้งาน กล้ามเนื้อจะล้าและลดประสิทธิภาพลงเรื่อย ๆ และถ้าเกิน ๓ ชั่วโมงติดต่อกัน ข้อต่อ กระดูกและเส้นเอ็นจะเกิดการยึดติดส่งผลให้มีแคลเซียมยึดเกาะในข้อต่อ ดังนั้น หากอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ เช่น บริเวณขมับ คอ ไหล่ หลัง ศอก ข้อมือ ข้อนิ้ว สะโพก เอว น่อง ข้อเท้า ฝ่าเท้า เป็นต้น มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง การออกกำลังกายสำหรับวัย ทำงานสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมตามเวลาและสถานที่ อาทิ การฝึกกายบริหารแบบง่ายๆ เช่น การยก แขนขึ้นลง การบิดลำตัว โยคะ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันโยคะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โยคะ คือ ศาสตร์ในการดูแลจิตให้ปกติในร่างกายที่สมบูรณ์ ปัจจุบันมีการนำโยคะไปบำบัดบรรเทาโรค โยคะบำบัดได้ขยายขอบเขตไปยังการป้องกัน การสร้างเสริม การรักษาและการฟื้นฟู ซึ่งพบว่า โยคะมี ประสิทธิภาพสูงมากในการรักษาโรคเรื้อรังบางโรค ดังนั้น ชมรมคนรักษ์สุขภาพ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการออกกำลังกายด้วยโยคะ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง โยคะเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อการมีสุขภาพกายและจิตที่ดี ก่อให้เกิดความแข็งแรง มุ่งมั่น อดทน และความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน รวมถึงการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการฝึกโยคะอย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นต้นแบบและขยายให้เกิดการฝึกโยคะอย่างแพร่หลายอันก่อประโยชน์กับบุคคลทั่วไป   ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุตำบลหาดสำราญได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุขในสังคมและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย จึงได้จัดทำ “โครงการขยับกาย      สบายชีวี สุขภาพดีด้วยโยคะ” ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติโยคะได้
  2. ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นและความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
  3. ส่งเสริมการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุให้ยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2568 16:22 น.