กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ KAMIYO SMART MOM ฝากครรภ์เคลื่อนที่ ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3009-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะมิยอ
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 15,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยาซิน สาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 - 7 ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.850336,101.313236place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง การดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั่วไปที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผลการศึกษาพบว่าการดูแลหญิงตั้งครรภ์แนวใหม่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมารดาและทารก ในแต่ละครั้งของการนัดตรวจจะกำหนดบริการพื้นฐานที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ มีการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ ให้การรักษาให้การแนะนาให้ตระหนักและเฝ้าระวังปัญหาฉุกเฉินระหว่างตั้งครรภ์และการแก้ไขมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ที่สะดวกรวดเร็ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะมิยอ จึงได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกปรับองค์ประกอบของระบบดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงเป็นจานวน 8 ครั้ง สาเหตุที่นัดเพิ่มในช่วงอายุครรภ์ 34 , 36 และ 40 สัปดาห์ เนื่องจากพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนในช่วงอายุครรภ์นี้ จึงเพิ่มการนัดถี่ขึ้น และป้องกันภาวะDFIU (ทารกเสียชีวิตในครรภ์) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการมาฝากครรภ์อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งเพิ่มกิจกรรมบริการที่หญิงตั้งครรภ์จะได้รับและได้ปรับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กให้เนื้อหาสอดคล้องกับการดำเนินงานต่อไป     การคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์สามารถช่วยลดอัตราตายของมารดาและทารกได้ ซึ่งองค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับบริการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งและฝากครรภ์ครั้งแรก 12 สัปดาห์ จากการดำเนินงานพบว่า ปีงบประมาณ 2565 -2567 ที่ผ่านมา หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้ง ร้อยละ 66.9, 70.68 และ 73.9 ตามลำดับ และยังฝากครรภ์ช้าหลัง 12 สัปดาห์ ร้อยละ 33.1, 29.32 และ 26.1 ตามลำดับซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 จากการ วิเคราะห์ปัญหาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ไม่มีความรู้และไม่เห็นความสำคัญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะมิยอ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรก เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรก เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75 ภายใน 12 เดือน

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการบริการฝากครรภ์คุณภาพ ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการบริการฝากครรภ์คุณภาพ ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 75 ภายใน 12 เดือน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ลงพื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจ ผลดีของการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ผ่านชุมชนต่าง ๆ เสียงตามสายของชุมชนและป้ายประชาสัมพันธ์ 14 3,540.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 เจ้าหน้าที่รพ.สต.กะมิยอ พร้อมอสม. ลงพื้นที่ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่แบบเชิงรุก ตรวจครรภ์เคลื่อนที่ โดยใช้รถRefer 12 เดือน 40 11,200.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 นัดฟังผลเลือด และเข้าร.ร.พ่อแม่เพื่อให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 40 1,200.00 -
รวม 94 15,940.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มีความรู้ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์คุณภาพ ครบ 8 ครั้งครบตามเกณฑ์ และได้รับการคัดกรองความเสี่ยงทุกราย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2568 10:18 น.