โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้วยหลัก 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) และการดูแลสุขภาพช่องปาก ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้วยหลัก 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) และการดูแลสุขภาพช่องปาก ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3009-03-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะมิยอ |
วันที่อนุมัติ | 24 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,680.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวเสาวณีย์ เซงปี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะมิยอ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.854,101.318place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 57 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 57 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เด็กมีความสุข สะดวกสบาย สะอาด ถูกสุขอนามัยและมีความปลอดภัยนั้น ต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินการควบคุมกันคือการส่งเสริมสนับสนุนเรื่องสุขภาพอนามัยเด็ก ปัจจัยเอื้อและขจัดหรือลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความน่าอยู่ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อให้เด็กได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยมุ่งหวังให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางกายจิตใจสังคมอารมณ์และสติปัญญาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และครูผู้ดูแลเด็กได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขกายสบายใจ ตลอดจนครู ผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กเล็กที่ควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพทั้งด้านการดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อมอันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและทำได้ถูกต้อง และเป็นการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้บุคคลมี่ต้องดูแลเด็กสามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ปกครองเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมโดยสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่องระหว่างบ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลในท้องถิ่นทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจเพื่อพัฒนาเด็ก ดังนั้นเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีสุขภพอนามัยที่ดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะมิยอ จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้วยหลัก 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี และมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย ด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและถูกต้องตามโภชนาการ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและมีอารมณ์แจ่มใสตามวัย รวมทั้งเพื่อให้ชุมชน ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร่วมกันดูแลส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี และมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย ผลจากการตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี และมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย |
||
2 | เพื่อผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหาร โภชนาการเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อารมณ์และการคลายเครียดในเด็กปฐมวัย และแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตสำหรับเด็กปฐมวัยในชีวิตประจำวัน ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม และทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหาร โภชนาการเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อารมณ์และการคลายเครียดในเด็กปฐมวัย และแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตสำหรับเด็กปฐมวัยในชีวิตประจำวัน |
||
3 | เพื่อให้ชุมชน ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน เกิดการร่วมมือในการดูแลสุขภาพและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชุมชน ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน เกิดการร่วมมือในการดูแลสุขภาพและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดอบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพในช่องปากแก่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียน | 57 | 10,440.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองพร้อมสาธิตการดูแลฟัน | 57 | 3,990.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวัสดุฝึกอบรม | 57 | 250.00 | - | ||
รวม | 171 | 14,680.00 | 0 | 0.00 |
- เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี และมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย
- ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารโภชนาการเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อารมณ์และการคลายเครียดในเด็กปฐมวัย และแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตสำหรับเด็กปฐมวัยในชีวิตประจำวัน
- ทำให้ชุมชน ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน เกิดการร่วมมือในการดูแลสุขภาพและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2568 10:46 น.