กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมทบทวนให้ความรู้การใช้อุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ของศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินและสร้างภาคีเครือข่ายในหมู่บ้าน
รหัสโครงการ 68-L4118-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต
วันที่อนุมัติ 2 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุธานี สาแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.153,101.116place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้จัดตั้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินขึ้นในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency medical system= EMS) หมายถึง ระบบบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและผู้ป่วย เจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้การดูแลประปฐมพยาบาล ทั้งนอกโรงพยาบาลและในโรงพยาบาลประเทศไทย มีข้อมูลการใช้บริการห้องฉุกเฉิน จำนวนประมาณ ๑๒ ล้านครั้งต่อปี มีผู้ป่วยวิกฤติและเร่งด่วนประมาณ ร้อยละ ๓๐ ที่จำเป็นต้องได้รับบริการ การแพทย์ฉุกเฉินและเสียชีวิตนอกโรงพยาบาลประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน หากมีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มี ประสิทธิภาพจะช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินดังกล่าวได้ถึงปีละ ๙,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ คน สาเหตุที่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ไม่ได้รับการ รักษาที่ถูกต้องและทันเวลา เพราะมีระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ด้อยประสิทธิภาพไม่ครอบคลุมผู้ป่วยทุกคนและ ทุกพื้นที่ขาดระบบที่เข้าถึงได้ง่าย การช่วย ณ จุดเกิดเหตุยังด้อยคุณภาพซึ่งทำให้ผู้ป่วยพิการและเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต งานบริการสาธารณสุขและงานสาธารณสุขอื่น ได้เล้งเห็น ความสำคัญของการบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยเฉพาะด้านทักษะการกู้ชีพของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ตำบลคีรีเขต ยังขาดองค์ความรู้ที่ถูกวิธีและการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ทั่วทุกพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ผู้เจ็บป่วยปลอดภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาเครือข่ายระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉินตลอดจนบุคลากรและอาสาสมัครกู้ชีพ ที่สามารถให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในหน่วยบริการ ระดับพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องรวดเร็ว และปลอดภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง และสร้างภาคีเครือข่ายในการ ดำเนินการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในหมู่บ้าน จากความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมให้ความรู้การใช้ อุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ของศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกเครือข่ายอาสาสมัครฉุกเฉิน การแพทย์รุ่นใหม่ ๒. เพื่อให้ประชาชนที่มีจิตอาสา และเครือข่ายอาสาสมัคร มีความรู้ด้านการปฐมพยาบาล และการปฏิบัติงาน การแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ๓. เพื่อเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการปฐม พยาบาลขั้นพื้นฐาน ให้อาสาฉุกเฉินรุ่นใหม่ อีกทั้งเพื่อ เป็นการเตรียม พื้นฐานเข้าสู่การปฏิบัติจริงอย่าง ถูกต้องตามกระบวนการงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ให้ สามารถประสานงาน แจ้งเหตุและข้อมูลให้กับสถาน บริการ สาธารณสุขได้ถูกต้องครบถ้วนตาม ความก้าวหน้าของระบบสารสนเทศ การแพทย์ฉุกเฉิน ๔. เพื่อพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน และ เตรียมความพร้อมใน การเผชิญเหตุและช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและ ปลอดภัย ทัน ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน

เชิงปริมาณ ๑. ประชาชนที่มีจิตอาสา ๒๕ คน ๒. เครือข่ายอาสาสมัคร ๑๓ คน เชิงคุณภาพ ๑. ประชาชนที่มีจิตอาสา และเครือข่ายอาสาสมัคร มี ความรู้และทักษะในการปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน และ สามารถช่วยเหลือและปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงบางประการที่ เกี่ยวข้องได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตามอำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และ ข้อจำกัดในการปฏิบัติการ ฉุกเฉินตาม คำสั่งการแพทย์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต มีจำนวนสมาชิกเครือข่ายอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ รุ่นใหม่เพิ่มขึ้น ๒. เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนทั่วไป มีความรู้ด้านการปฐมพยาบาล และการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินได้ อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ๓. สามารถเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ให้แก่ เครือข่ายอาสาสมัครฉุกเฉินรุ่นใหม่ และเตรียม พื้นฐานเข้าสู่การปฏิบัติงานจริงอย่างถูกต้องตามกระบวนการงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ๔. เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนทั่วไป สามารถประสานงาน แจ้งเหตุและให้ข้อมูลกับสถานบริการสาธารณสุขได้ ถูกต้องครบถ้วน ตามความก้าวหน้าของระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน ๕. เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนทั่วไป สามารถพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน และเตรียมความพร้อมใน การเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและ ปลอดภัย ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2568 11:25 น.