กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เทศบาลเมืองเบตง
รหัสโครงการ 2568-L7161-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองเบตง
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 19,625.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกเทศมนตรีเมืองเบตง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.803,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากร เป็นวิธีดูแลสุขภาพครรภ์ของคุณแม่และลูกน้อยไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกหรือเคยผ่านการตั้งครรภ์มาแล้ว การฝากครรภ์นับว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่หญิงตั้งครรภ์ทุกคนไม่ควรมองข้าม และควรเริ่มฝากครรภ์ตั้งแต่รู้ตัวว่ามีการตั้งครรภ์ หรืออายุครรภ์ไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน มีสุขภาพแข็งแรง และลดการคลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์มีโอกาสเสียชีวิตสูง รวมถึงยังมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดทำงานไม่ดี มีภาวะเลือดออกในสมอง มีภาวะเลือดออกในลำไส้ ส่งผลให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด บางรายจะมีพัฒนาการล่าช้า หากทารกรายนั้นมีความพิการ ครอบครัว และภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแล รักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี จากการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร พบว่า ประมาณร้อยละ 50 - 60 ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์เหล่านั้น ยังขาดความรู้เรื่อง


การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอดก่อนกำหนด จึงเข้ามารับการรักษาล่าช้าเป็นเหตุให้การยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไม่ประสบผลสำเร็จ กระทรวงมหาดไทยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย  ในพระราชูปถัมภ์  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สนามมกุฎราชกุมาร ได้ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด กระทรวงมหาดไทย ภายใต้โครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สนามมกุฎราชกุมาร โดยมีเป้าหมายเพื่อ “ลดอัตราคลอดก่อนกำหนด” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2570 ร้อยละ 8 จึงขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว
สำหรับในเขตเทศบาลเมืองเบตงมีหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในปีงบประมาณ 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 171 คน โดยหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด(ก่อน 37 สัปดาห์) จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 5.26 ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ในเขตเทศบาลเมืองเบตงขึ้น เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ด้วยการอบรมทักษะให้กับแกนนำสุขภาพที่สามารถให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และบอกต่อบุคคลใกล้ตัวในชุมชนให้ไปพบแพทย์ทันทีเมื่อเกิดการตั้งครรภ์ ส่งผลให้สามารถรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนดได้อย่างรวดเร็วและเพื่อเฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนดในเขตเทศบาลเมืองเบตงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด

ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการส่งเสริมสุขภาพจากแกนนำสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการส่งเสริมสุขภาพจากแกนนำสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม

3 เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดในเขตเทศบาลเมืองเบตง

อัตราการคลอดก่อนกำหนดในเขตเทศบาลเมืองเบตงเป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงมหาดไทย ไม่เกินร้อยละ 8

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 19,625.00 0 0.00 19,625.00
24 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ 60 5,000.00 - -
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้ 60 14,625.00 - -
รวมทั้งสิ้น 120 19,625.00 0 0.00 19,625.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 แกนนำสุขภาพที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด 2 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการส่งเสริมสุขภาพจากแกนนำสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม 3. อัตราการคลอดก่อนกำหนดในเขตเทศบาลเมืองเบตงเป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงมหาดไทย ไม่เกินร้อยละ 8

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2568 14:02 น.