โครงการพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจ เด็กและเยาวชนตำบลดีหลวง(กิจกรรมให้ความรู้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล)
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจ เด็กและเยาวชนตำบลดีหลวง(กิจกรรมให้ความรู้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล) |
รหัสโครงการ | 68-L5239-2-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนตำบลดีหลวง |
วันที่อนุมัติ | 7 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ด.ญ.ศิวพร เทพสุริวงค์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.58,100.406place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 14,300.00 | |||
รวมงบประมาณ | 14,300.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ต่างก็หลอมรวมบรรจบเข้าสู่ยุคหลอมรวมสื่อ เหล่านี้มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและการสื่อสารของคนในสังคมอย่างมาก โดยเป็นข้อบ่งชี้ว่าสื่อหรือเครื่องมือสื่อสารที่ได้รับความนิยมในแต่ละช่วงเวลาจะมีอิทธิพลต่อความคิดของคน สังเกตได้จากจำนวนของผู้ใช้งานเว็บไซต์สังคมออนไลน์เฟชบุ๊ค (Facebook) ทั่วโลก และเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าส่งผลให้เกิดเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น สมาร์ทโฟน (Smartphone) แท็บเล็ต (Tablet) เป็นต้น ซึ่งเครื่องสื่อสื่อสารยิ่งทันสมัยยิ่งทำให้การสื่อสารบนโลกออนไลน์สะดวกรวดเร็วมากขึ้นจนกลายมาเป็น โซเชียลมีเดีล (SocialMedia) เพราะสร้างให้เกิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยต่างๆ เกิดเป็นการสื่อสาร 2 ทางที่ฉับไว เกิดการแบ่งปันข้อมูลทุกประเภทอย่างรวดเร็ว โซเชียลมีเดียที่มีคุณสมบัติด้านความสะอาดและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญและกลายเป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนผู้บริโภคข่าวสารในปัจจุบัน ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลดีหลวง เห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาด้านอารมณ์ และจิตใจ เด็กและเยาวชนตำบลดีหลวง (กิจกรรมให้ความรู้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล) ขึ้น เพื่อพัฒนาด้านอารมณ์ และจิตใจ การรู้เท่าทันในการใช้สื่อ ผ่านกิจกรรมที่จัดขึ้นในรูปแบบต่างๆ ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ และพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ตามความสนใจของตนเอง เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อพัฒนาคนให้มีศักยภาพรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ในสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่ปลอดภัยและเอื้ออาทร และลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและปลอดภัยต่อสุขภาพด้านอารมณ์ จิตใจได้ เด็กและเยาวชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจสร้างภูมิคุ้มกันด้านอารมณ์ จิตใจของตนเองได้ |
||
2 | เพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน รวมทั้งลดผลกระทบปัญหาที่จะเกิดจาก สื่อในยุคดิจิทัลได้ เด็กและเยาวชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจสร้างภูมิคุ้มกันด้านอารมณ์ จิตใจของตนเองได้ |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ มีภูมิคุ้มกันและปลอดภัยต่อสุขภาพด้านอารมณ์ จิตใจของตนเอง
- เด็กและเยาวชนสามารถ่ายทอดความรู้ในการป้องกัน รวมทั้งลดผลกระทบปัญหาที่จะเกิดจากสื่อในยุคดิจิทัลได้
- เด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อไปใช้ในชีวิตประจำวัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2568 15:21 น.