โครงการสุขกายสบายใจชีวีมีสุขด้วยวิถีบาสโลบ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสุขกายสบายใจชีวีมีสุขด้วยวิถีบาสโลบ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L7161-2-25 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มเบตงบาสโลบไลน์แดนซ์ |
วันที่อนุมัติ | 23 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 ตุลาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 พฤศจิกายน 2568 |
งบประมาณ | 20,220.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ประธานกลุ่มเบตงบาสโลบไลน์แดนซ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.803,101.009place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันคนไทยนิยมการออกกำลังกายมากขึ้น คนไทยมีความคุ้นเคยกับคำว่า” ออกกำลังกาย “มายาวนาน โดยนิยามของการออกกำลังกาย คือการกระทำใดๆ ทำให้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย แบบซ้ำๆ มีการ วางแผนเป็นแบบแผนและมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อความสนุกสนาน เพื่อสังคม โดยใช้กิจกรรม ง่ายๆ หรือกติกาการแข่งขันง่ายๆ เช่น การเดิน การวิ่ง การเต้น ฯลฯ และในปัจจุบันประเทศไทยได้สนับสนุนการ ออกกำลังกายโดยการจัดกิจกรรมทางกายที่กว้างขวางกว่าการออกกำลังกาย กล่าวคือ การขยับร่างกายทั้งหมดใน ชีวิตประจำวันในอิริยาบถต่างๆ ซึ่งก่อการใช้และการเผาผลาญพลังงานและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจ และสังคมเมืองเบตงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน มีการแข่งขันทางการทำงานมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเช่นกัน การเร่งรีบไปทำงาน บริโภค อาหารที่สะดวกรวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงโภชนาการอาหารที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ประกอบกับการเคลื่อนไหวทาง ร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เกิดความเครียดปัจจัยเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยง ความเครียดสะสม จากการทํางานก่อให้เกิด ความไม่สบายร่างกายและจิตใจ สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมสถานที่ ทำงานโดยให้มีกิจกรรมออกกำลังกายสม่ำเสมอและถูกต้อง กลุ่มเบตงบาสโลบไลน์แตนซ์ จึงมีแนวคิดที่จะจัด กิจกรรมออกกำลังกายแบบบาสโลบ ซึ่งบาสโลบเป็นการเต้น ทุกคนจะยืนตั้งแถวเป็นหน้ากระดานหรือแถวตอนมี หนึ่งแถวหรือมากกว่าก็ได้ สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน คือ ทุกทุกคนจะเต้นเป็นจังหวะอย่างพร้อมเพรียงกัน ขยับไป ซ้ายที ขวาที มีการแตะเท้าเป็นจังหวะตามเพลง จึงถือว่าเป็นการเต้นที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีมีการสร้างสรรค์ท่าเต้นให้ เข้ากับยุคสมัยและวัฒนธรรมประเพณีประชาชนทุกวัยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ และสามารถใช้เวลาเวลาว่างหลัง เลิกงานในการจัดทำกิจกรรม โดยคิดว่าผลการออกกำลังกายจะทำให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อีกทั้งยัง สามารถสร้างความสามัคคีและความผูกพันของคนในชุมชนได้ รวมถึงการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริม ให้ประชาชนในประเทศเพิ่มกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชน กลุ่มเบตงบาสโลบไลน์แดนซ์ สมาชิกในกลุ่มบางคนซึ่งอยู่ในวัยทำงานและวัยเกษียณ อาจมีความอ่อนล้าในการ ทำงานที่ทำอยู่เป็นประจำ บางครั้งมีอาการเครียดจากงานที่ทำร่วมกับปัญหาทางบ้าน สมาชิกวัยเกษียณเคยทำงาน ว่างเว้นจากงานที่เคยทำต้องอยู่บ้านไม่ได้ออกไปไหนพบปะเพื่อนฝูงน้อยลง ทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อม หลงลืม และนอนไม่หลับ สมาชิกกลุ่มเล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพของสมาชิกและเพื่อให้สมาชิกได้ฝึกสมาธิ กล้ามเนื้อสนุกสนาน เพลิดเพลิน การดูแลซึ่งกันและกันผลปรากฏว่าสมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่มีความสุขกาย สบายใจ ลดอาการนอนไม่หลับ หลับลึกความจำและการหลงลืมดีขึ้น จากการพบปะและออกกำลังกายร่วมกัน ชีวีมีสุขมาก
ขึ้น มีความคล่องตัวว่องไวขึ้นโดยรวมทุกคนที่ร่วมกันออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจดีขึ้น ดังนั้น กลุ่มเบตงบาสโลบไลน์แดนซ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จึงได้ จัดทำโครงการสุขกายสบายใจ ชีวีมีสุขด้วยวิถีบาสโลบ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพออย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
|
||
2 | เพื่อให้ผู้ออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
|
||
3 | เพื่อสร้างกลุ่มบาสโลบไลน์แดนซ์เป็นต้นแบบในการออกกำลังกาย
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 40 | 20,220.00 | 0 | 0.00 | 20,220.00 | |
1 พ.ค. 68 - 31 ต.ค. 68 | กิจกรรมออกกำลังกาย | 40 | 20,220.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 40 | 20,220.00 | 0 | 0.00 | 20,220.00 |
1.ผู้เข้าร่วมออกกำลังกายมีการออกกำลังกายอย่างอย่างต่อเนื่อง 2. ผู้เข้าร่วมออกกำลังกายมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น 3. กลุ่มบาสโสบไลน์แดนซ์สามารถเป็นต้นแบบในการส่งเสริมการออกกำลังกาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2568 15:54 น.