กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันบุหรี่ไฟฟ้า
รหัสโครงการ 2568-L7161-2-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านกาแป๊ะฮูลู)
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 38,255.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านกาแป๊ะฮูลู)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.803,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมาก ซึ่งแรกเริ่ม บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณา สรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่มาจนวันนี้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ได้ กลายเป็นเหมือนกับทางเลือกสำหรับ “วัยรุ่น” มากขึ้นในฐานะ “แฟชั่นใหม่” ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “เท่ห์ สูบได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ”

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 เผยคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน ในจำนวนนี้อายุ 15-24 ปี 24,050 คน และผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยในกลุ่มเด็กนักเรียนไทยเพิ่ม จากร้อยละ 3.3 ปี 2558 เป็น ร้อยละ 8.1 ในปี 2564 สัดส่วนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการขายและส่งเสริม การขายบุหรี่ไฟฟ้า พบว่า มีการขายและส่งเสริมการขายบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อสังคมออนไลน์สูงถึง 300 ราย ใน 6 แพลตฟอร์ม พบการขายมากที่สุดผ่านทาง “เว็บไซต์” อยู่ที่ร้อยละ 23 รองลงมาคือผ่านทางแอปพลิเคชัน “Line” อยู่ ที่ร้อยละ 21 และ “Youtube” อยู่ที่ร้อยละ 20 ส่วนช่องทาง “Facebook” พบอยู่ที่ร้อยละ 15 “Twitter” พบอยู่ที ร้อยละ 12 และผ่านทาง “Instagram” พบอยู่ที่ร้อยละ 9 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” มีความแพร่หลาย อย่างมากในกลุ่มเยาวชนไทย และยังสามารถหาซื้อได้ง่ายผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เราจึงพบเห็นแนวโน้มการ ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มากขึ้นในปัจจุบัน

จากการสังเกตและติดตามประเมินภายในโรงเรียนพบว่า เด็กอายุ11-15 ปี บางกลุ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป อย่างผิดปกติ เช่น ติดเกมส์ มาโรงเรียนพูดถึงแต่เกมส์ที่เล่นด้วยกันในค่ำคืนที่ผ่านมาไม่สนใจเรียน ก้าวร้าวและ หลับในห้องเรียน บางคนมีการขอ(ขู่)เอาเงินจากเพื่อนๆและรุ่นน้องในโรงเรียนและ/หรือที่เล่นเกมส์ด้วยกัน และมีการโพสต์ในเฟสบุ๊คกลุ่ม(ปิด) ชักชวนให้ซื้อบุหรี่ไฟฟ้า โดยเป็นตัวแทนขายตรง พร้อมกับชักชวนเพื่อนๆและรุ่นน้องให้ ลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นเด็กที่มีฐานะค่อนข้างดี กลุ่มนี้จะมีทั้งเพื่อนในโรงเรียนเดียวกันและต่างโรงเรียน มีนัดที่จะ ไปพบกันทั้งในสนามกีฬา และสถานที่ใกล้ร้านจำหน่าย โดยผู้ปกครอง หรือ ครู ส่วนใหญ่ ยังไม่รู้ ตลอดจนไม่รู้ถึง สาเหตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของบุตรหลานของตน เช่น ขอเงินมากกว่าปกติโดยอ้างเหตุซื้ออุปกรณ์การเรียนฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าถือว่ามาแรงในปัจจุบัน ซึ่งที่พบมีมากในกลุ่ม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และที่น่าเป็นห่วงก็พบในระดับชั้น ป.5 - ม.3 และที่เพิ่งตรวจพบคือชั้น ม.1

ทางโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกาแป๊ะฮูลู) ได้เห็นความสำคัญของภัยร้ายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ที่มีต่อกลุ่ม เยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักเรียน ที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น วัยอยากรู้อยากลอง โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกาแป๊ะฮูลู) จึงได้จัดโครงการ “เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันบุหรี่ไฟฟ้า” เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ ฟฟ้า และเกิดความตระหนักถึงพิษภัย อันตรายจากการสูบของบุหรี่ใ รู้เท่าทันเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และเกิดความตระหนักถึงพิ การช่วยเพื่อนมิให้ตกเป็นเหยื่อของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าและตระหนักถึงโทษของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

 

2 เพื่อให้นักเรียนสามารถจัดตั้งกลุ่มแกนนำและศูนย์ข้อมูลป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียนและแกนนำสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้นักเรียนในโรงเรียนได้

 

3 เพื่อเป็นการสร้างกระแสในการรณรงค์ป้องกัน เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 38,255.00 0 0.00 38,255.00
15 พ.ค. 68 เดินรณรงค์ เรื่อง พิษภัยยาเสพติดและบุหรี่ไฟฟ้า 150 9,230.00 - -
1 มิ.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องสถานการณ์ของบุหรี่ไฟฟ้า พิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า ปัญหายาเสพติดในเยาวชนและการรณรงค์ เฝ้าระวัง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 150 29,025.00 - -
รวมทั้งสิ้น 300 38,255.00 0 0.00 38,255.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษ รู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
  2. นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้เรียนรู้และเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังนักเรียนในโรงเรียนได้
  3. นักเรียนสามารถจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2568 08:56 น.