โครงการคลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ (Day care center) เทศบาลเมืองเบตง รุ่นที่ 3 ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการคลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ (Day care center) เทศบาลเมืองเบตง รุ่นที่ 3 ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L7161-3-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองเบตง |
วันที่อนุมัติ | 23 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 27 พฤษภาคม 2568 - 18 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 20 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 102,630.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ประธานศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองเบตง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.803,101.009place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ความต้องการบริการของประชากรในสังคมจำเป็นต้องมีบริการที่จำเพาะกับผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเพราะตามธรรมชาติของผู้สูงอายุนั้นจะมีความเสื่อมโทรมลงตามวันและเวลาทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น การเคลื่อนไหวที่ช้าลง สายตาเริ่มมองไม่ชัด การได้ยินลดลง นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องภาวะสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่ลดลง เป็นต้น
สถานการณ์ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเบตง ก็พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี จากสถิติปี 2565 มีจำนวน 4,100 คน ปี 2566 มีจำนวน 5,011 คน และล่าสุดจากการสำรวจเดือน กุมภาพันธ์ 2568 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเบตงรวมทั้งสิ้นสูงถึง 5,260 คน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้มีอายุมากกว่า 100 ปี มากถึง 55 คน ซึ่งผู้สูงอายุแต่ละคนในพื้นที่ก็มีคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน มีทั้งผู้สูงอายุที่ติดเตียง ติดบ้าน และติดสังคม โดยพบว่าบริการหรือกิจกรรมที่มีส่วนใหญ่ในพื้นที่นั้นเหมาะสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง และผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ยังขาดบริการที่จำเพาะกับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน หรือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อยซึ่งเป็นกลุ่มที่สำคัญเพราะหากได้รับการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูที่เหมาะสม ก็จะเปลี่ยนเป็นผู้สูงอายุติดสังคมหรือไม่มีภาวะพึ่งพิงได้ แต่หากขาดการดูแลที่เหมาะสมก็จะเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงสูงได้เช่นกัน
การดำเนินการที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองเบตง ได้บูรณาการร่วมกับเทศบาลเมืองเบตง จัดทำโครงการ คลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ (Day care center) เทศบาลเมืองเบตง มาแล้ว 2 รุ่น ในปี 2566 และปี 2567 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง เพื่อให้บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย หรือกลุ่มติดบ้าน แบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care center)
โดยมีการจัดสถานที่และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อยหรือมีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว มีการให้บริการรถรับ-ส่ง กรณีไม่สะดวกในการเดินทางมาเอง มีกิจกรรมที่ครอบคลุมถึงการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูในหลากหลายด้านด้วยกัน ทั้งด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านร่างกาย ตลอดจนการติดตามประเมินภาวะสุขภาพกายและใจอย่างสม่ำเสมอโดยนักวิชาชีพเฉพาะด้าน ทั้งนี้พบว่า ผู้สูงอายุติดบ้านหลายรายที่เข้าร่วมโครงการไม่ได้ออกมาทำกิจกรรมทางสังคมมาเป็นระยะเวลานาน ทั้งปัญหาด้านความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด การไม่มีรถยนต์ที่จะพาไปไหนมาไหนได้ บางรายใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวขาดคนดูแล เมื่อได้เข้าร่วมโครงการก็เฝ้ารอเวลาที่จะได้ออกมาเข้าร่วมกิจกรรม บางรายมีผู้ดูแลแต่การดูแลยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างครอบคลุม การเข้าร่วมโครงการนี้ทำให้ได้เข้าใจผู้สูงอายุแต่ละรายในเชิงลึก ทำให้สามารถส่งเสริม ฟื้นฟู ช่วยเหลือได้อย่างเป็นองค์รวมและเหมาะสม แต่จากการถอดบทเรียนก็พบว่ายังมีหลายจุดที่ควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาต่อเพื่อให้โครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากยิ่งขึ้น
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลเมืองเบตง จึงเห็นควรให้มีการจัดโครงการคลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ (Day care center) เทศบาลเมืองเบตง ในรุ่นที่ 3 ปี 2568 ต่อไป โดยมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่มากยิ่งขึ้น มีการจัดกิจกรรมในชุมชนนำร่อง 4 ชุมชนที่มีความพร้อมและความต้องการเข้าร่วมโครงการ ชุมชนละ 4 ครั้ง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงในกลุ่มที่ยังไม่สะดวกออกไปไกลจากบ้าน มีการเพิ่มกิจกรรมหลายๆ ส่วน เช่น การประเมินแผนการดูแลอย่างครอบคลุมเป็นรายบุคคล ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพช่องปาก สุขภาพตา การกายภาพบำบัด การรับประทานยาประจำตัว การประเมินสภาวะทางสังคม เป็นต้น มีการสอนญาติเรื่องการตัดผม ตัดเล็บ ให้ผู้สูงอายุ มีกิจกรรมถ่ายภาพเดี่ยวผู้สูงอายุเพื่อบันทึกภาพความทรงจำส่งเสริมความรู้สึกมีตัวตนและมีความสำคัญในผู้สูงอายุ มีการรวมเล่มใบงานในหัวข้อส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเป็นเล่มอัตชีวประวัติของผู้สูงอายุแต่ละราย เป็นต้น อนึ่งการจัดโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้สูงอายุติดบ้านในเขตเทศบาลเมืองเบตงเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข มีร่างกายแข็งแรง สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ลดภาวะพึ่งพิง ชะลอความเสื่อมที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว
|
||
2 | เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย
|
||
3 | เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการดูแล และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืนยาว และใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 102,630.00 | 0 | 0.00 | 102,630.00 | |
15 พ.ค. 68 | กิจกรรมคลินิกสุขภาพดี | 50 | 102,630.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 50 | 102,630.00 | 0 | 0.00 | 102,630.00 |
- สุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิดความเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ประเมินจากคะแนน ADL และ TGDS-15 คงที่หรือเท่าเดิม
- คลินิกกิจกรรมผู้สูงอายุ (Day care center) เทศบาลเมืองเบตง สามารถเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นแหล่งศึกษาดูงานการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3. ผู้สูงอายุเกิดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม ประเมินจากความพึงพอใจ ร้อยละ 80 ขึ้นไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2568 09:44 น.