ประชาชนสุขใจ ใส่ใจสุขภาพ สร้างคุณค่าให้ตนเอง ปีงบประมาณ ๒๕๖๘
ชื่อโครงการ | ประชาชนสุขใจ ใส่ใจสุขภาพ สร้างคุณค่าให้ตนเอง ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ |
รหัสโครงการ | 68-L5246 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโพธิ์ |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 30,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายจิระวัฒน์ รัตนชล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.796,100.416place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเราอยู่ในโลกโซเชียลและข่าวสารที่หมุนไว คนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับสื่อออนไลน์มากขึ้นทำให้คุยกับครอบครัวและคนรอบข้างน้อยลง เกิดปัญหาทางจิตใจทั้งความเหงา ความโดดเดี่ยว คนรู้สึกไม่เชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะที่คนรู้สึกโดดเดี่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยังเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน อาจนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น เสี่ยงป่วยโรควิตกกังวล ซึมเศร้า และสมองเสื่อม ข้อมูลของศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ยังระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยผู้ป่วยจำนวน 100 คน สามารถเข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น และทำให้คนไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตก่อนวัยอันควร (กรมสุขภาพจิต, 2565)
คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านสองพี่น้อง จกการสำรวจกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน โดยการประเมินตามแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า พบว่าผู้มีความเสี่ยง (2Q ≥1) จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และติมตามประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม คณะกรรมการหมู่บ้านเล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้และต้องการสนับสนุนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการส่งเสริมดูแลสุขภาพจิต จึงได้จัดทำโครงการ “ประชาชนสุขใจ ใส่ใจสุขภาพ สร้างคุณค่าให้ตนเอง ปีงบประมาณ ๒๕๖๘” ซึ่งมีกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและการจัดการด้านอารมณ์ และดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสมาธิและเพิ่มคุณค่าให้กับตนเองด้วยการฝึกสานตะกร้าด้วยเชือกมัดฟาง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ช่วยกระตุ้นสมอง ปรับระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดให้รู้สึกผ่อนคลาย
ลดความเครียด ลดภาวะวิตกกังวล ลดระดับความซึมเศร้าได้ และกิจกรรมดังกล่าวยังส่งเสริมให้ประชาชนได้พบปะพูดคุยมีกิจกรรมร่วมกัน ประชาชนสามารถประเมินระดับความเครียด ระดับความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ด้วยตนเองได้ สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้ผ่อนคลายความเครียดโดยการสานตะกร้าในยามว่าง ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพจิตดี นำไปสู่การมีสุขภาพกายดี และสุขภาพสังคมที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ และสามารถจัดการกับอารมณ์ตนเองได้อย่างถูกวิธี และสามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับตนเองได้ ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ในการดูแลสุขภาพและสามารถจัดการกับอารมณ์ความเครียดได้ |
||
2 | เพื่อให้ประชาชนเกิดคุณค่าในตนเองด้วยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างคุณค่า และฝึกสมาธิ ให้กับตนเอง เกิดกิจกรรม ฝึกสมาธิ ส่งเสริมการสร้างคุณค่าให้ตนเอง โดยประชาชนทำตะกร้าเป็น |
||
3 | เพื่อให้ประชาชนเกิดคุณค่าในตนเองด้วยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างคุณค่าและฝึกสมาธิให้กับตนเอง ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายเกิดกิจกรรมฝึกสมาธิส่งเสริมการสร้างคุณค่าให้ตนเอง |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
14 มิ.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการอบรมให้ความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพและการจัดการอารมณ์ | 25 | 3,375.00 | ✔ | 3,375.00 | |
14 - 16 มิ.ย. 68 | อบรมและฝึกปฏิบัติการสานตะกร้าเชือกมัดฟาง | 25 | 27,525.00 | ✔ | 27,525.00 | |
รวม | 50 | 30,900.00 | 2 | 30,900.00 |
๑. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ใช้ทักษะการฟัง การพูด การสื่อสาร เพื่อสร้างคุณค่าและปรับความคิดของตนเอง ๒. กลุ่มเป้าหมายรับรู้เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์จัดการอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ และสามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับตนเองได้ ๓. กลุ่มเป้าหมายเกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักถึงคุณค่าในตนเองและเกิดมุมมองต่อการใช้ชีวิตในเชิงบวก ๔. กิจกรรมที่ดำเนินการช่วยชะลอความเสื่อมทางสมอง เพิ่มไหวพริบความจำ การมีสติ และการจัดการกับสิ่งต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2568 11:21 น.