กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ L8411-01-68-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ
วันที่อนุมัติ 20 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมายูรา บีมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีทั่วโลก รองลงมาจากมะเร็งเต้านม สำหรับในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในมะเร็งของสตรีไทย สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกที่แท้จริงไม่ทราบแน่นอน แต่สาเหตุสำคัญเท่าที่วิทยาการทางการแพทย์ตรวจพบได้ในปัจจุบัน คือ การติดเชื้อ human papilloma virus หรือ HPV บริเวณปากมดลูก เป็นสาเหตุจำเพาะของมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เป็นเพียงปัจจัยส่งเสริมทำให้ปากมดลูกมีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้มากขึ้นหรือง่ายขึ้น เช่นการมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย หรือการตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย และจะมีอัตราการเสียชีวิต เกินครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว และเป็นต้นเหตุทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากกว่าปีละ 270,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 650 คน โดยมีสถิติของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน จากสถิติในปี 2550 พบผู้ป่วยใหม่ ประมาณ 7,000 ราย มีผู้เสียชีวิต ประมาณ 3,500 ราย หรือ 9 รายต่อวัน แต่โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถรักษาให้หาย และมีความเป็นไปได้ในการที่จะกำจัดให้หมดไปจากประเทศไทย หากตรวจพบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก หรือระยะก่อนเป็นมะเร็ง ปัญหาสำคัญคือ คนไทยร้อยละ 50 มักไปพบแพทย์ขณะที่โรคลุกลามแล้ว ซึ่งยากต่อการรักษาให้หาย ผู้ป่วยมักเสียชีวิต รวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ จึงเห็นความสำคัญของการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยการตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีเป้าหมายกลุ่มอายุ 30-70 ปี จากข้อมูลการคัดกรองมะเร็งในพื้นที่อำเภอบันนังสตา โดยเฉพาะการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก พบว่า ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565-2567 ผลงานร้อยละ 13.86, 6.31, 20.00 ซึ่งผลงานไม่เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป้าหมายร้อยละ 25 เนื่องจากสตรีกลุ่มเป้าหมายขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม และด้วยบริบทพื้นที่ของอำเภอบันนังสตานั้น สตรีมุสลิมค่อนข้างให้ความสำคัญกับการเปิดเผยร่างกาย
      จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบ ปี 2563-2567 พบว่าได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 15.82 ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป้าหมายร้อยละ 25 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 1,300 ราย พบผู้ป่วย 1 ราย มีอาการผิดปกติ และได้รับส่งต่อตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลบันนังสตา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ เห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรค โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในสตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอัตราอุบัติการณ์รายใหม่ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

 

2 เพื่อส่งเสริมให้สตรีได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง อย่างถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีอายุ 30 ปี-60 ปี 120 17,000.00 -
รวม 120 17,000.00 0 0.00

4.1 ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ และชี้แจงอสม.ในแต่ละหมู่บ้านและประชาสัมพันธ์แก่ชุมชน 4.2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีอายุ 30 ปี-60 ปี 4.3. ประสานวิทยากรให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีอายุ 30 ปี-60 ปี 4.5. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีมีความรู้ ความตระหนักเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2 .สตรีได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 11:31 น.