กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุ จิตสดใส ร่างกายแข็งแรง” ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3015-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลบาราเฮาะ
วันที่อนุมัติ 7 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 พฤษภาคม 2568 - 6 มิถุนายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กรกฎาคม 2568
งบประมาณ 9,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุตำบลบาราเฮาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 พ.ค. 2568 28 พ.ค. 2568 9,960.00
รวมงบประมาณ 9,960.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม
60.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ
60.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากความสำเร็จจากผลการดำเนินงานลดอัตราเพิ่มประชากรในระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร โดยประชากรในวัยเด็กลดลง ในขณะที่วัยแรงงานและผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการดูแลสุขภาพของตนเอง และส่งผลถึงระดับครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติได้ ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน เนื่องจากเป็นวัยที่ร่างกายถดถอยและเสื่อมลง เป็นผลทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆเบียดเบียนโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ จะมีปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นกระทรวงสาธารณสุขจึงมีวัตถุประสงค์ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสได้แสดงศักยภาพส่งเสริมสุขภาพตนเองครอบครัวและชุมชน
ดังนัั้นชมรมผู้สูงอายุ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุเป็นวัยที่ผ่านการทำงานและสร้างประโยชน์ให้แก่ครอบครัวชุมชน และประเทศชาติมาเป็นเวลานาน แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยชรานั้นถือว่าเป็นภาระหน้าที่ของครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ควรตอบแทนและสนับสนุนให้มีชีวิตอยู่ได้ตามสมควรแก่อัตภาพ ในด้านปัจจัย 4 รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุ ในเรื่องการป้องกัน ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีกายภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน มีการเฝ้าระวังและป้องกันสุขภาพ หรือมีการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มในผู้สูงอายุ อย่างมีแนวทางที่ชัดเจน ให้มีการพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้และช่วยเหลือกันและกันในด้านสุขภาพอนามัย และได้มีการพบปะ และสันทนาการกับคนวัยเดียวกัน ตลอดจนการออกกำลังกายโดยใช้กิจกรรมต่างๆ มาเป็นการเชื่อมคนในชุมชนให้สามารถดำรงอยู่ในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

60.00 20.00
2 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

60.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
30 พ.ค. 68 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพผู้สูงอายุ 0 9,960.00 -
รวม 0 9,960.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ 2.ผู้สูงอายุมีกิจกรรมต่อเนื่องในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ สามารถดูแลตนเองได้ 4.ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพในส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ