โครงการปฐมวัยฟันดี
ชื่อโครงการ | โครงการปฐมวัยฟันดี |
รหัสโครงการ | 2568-L7161-3-6 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเบตง |
วันที่อนุมัติ | 25 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 11,270.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเบตง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.803,101.009place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากปัญหาที่พบมากที่สุดและเป็นปัญหาทันตสุขภาพที่สำคัญของเด็กไทยปฐมวัยคือโรคฟันผุในเด็ก ปฐมวัยที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพทางช่องปาก การเกิดโรคฟันผุจะมีผลต่อระบบการเคี้ยวอาหาร อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อ สุขภาพร่างกาย เศรษฐกิจและสังคม หากเกิดในเด็กจะทำให้ เด็กไม่อยากรับประทานอาหารและจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเด็ก และยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคไปยังอวัยวะอื่นได้ เด็กที่มีฟันผุลุกลามในบริเวณกว้างและมีอัตราการผุที่เร็ว อาจต้องสูญเสียฟันตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งส่งผลต่อการเกิดความผิดปกติของการสบฟัน และการเคี้ยวอาหารของเด็ก และอาจทำให้ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ขึ้นผิดปกติ 2 เกิดกลิ่นปาก อาการเสียวและปวดฟัน ยัง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา บุคลิกภาพและ ปัญหาทางโภชนาการตามมา 3 ทั้งนี้โรคฟันผุในเด็กนั้นมีความสำคัญต่อการเรียงตัวในชุดฟันแท้ด้วย ซึ่งจะส่งผลไปถึงด้านการใช้งาน การทำความสะอาดและความสวยงาม ของเด็กคนนั้นได้ 4 เกิดความเจ็บปวดทรมาน เคี้ยวอาหาร ไม่ได้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารและสภาพจิตใจ เนื่องจากอาการปวดฟันจะทำให้เด็กปฐมวัยเกิดความเครียด ทางอารมณ์หงุดหงิดง่าย มีความวิตกกังวล เสียบุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจในการพูดคุย 5 นอกจากนี้แล้วการเกิดฟันผุ ปริมาณมากในชุดฟันน้ำนมนั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญ ที่จะทำให้การเกิดฟันผุในชุดฟันแท้ในอนาคตได้อีกด้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเบตง มีเด็กที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 54 คน ช่วงอายุ ตั้งแต่ 2 ขวบ จนถึง 5 ขวบ โดยทางศูนย์ฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเป็นประจำทุกปี พบว่า ในปี พ.ศ. 2568 เด็กมีปัญหาฟันผุ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 61.11 จากการสอบถามผู้ปกครองในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก พบว่า ผู้ปกครองบางส่วนขาดความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอย่างถูกต้อง ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเบตง จึงได้จัดทำโครงการปฐมวัยฟันดี ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน มีความรู้เพิ่มมากขึ้นภายหลังจากการอบรม |
||
2 | เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน มีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ80 ของผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะความสามารถในการแปรงฟัน |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 60 | 11,270.00 | 0 | 0.00 | 11,270.00 | |
1 ก.ค. 68 | จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็ก | 60 | 11,270.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 60 | 11,270.00 | 0 | 0.00 | 11,270.00 |
1 ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก 2 ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน มีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2568 14:24 น.