กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ“อบรมให้ความรู้ชาวตำบลบาราเฮาะใส่ใจป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปี ๒๕๖๑”(หมู่ที่1-8)
รหัสโครงการ 61-L3015-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นางปราณีบุญศาท
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 ธันวาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 60,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปราณีบุญศาท
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.829,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 ม.ค. 2561 1 ก.พ. 2561 17,960.00
2 5 ก.พ. 2561 15 ก.พ. 2561 30,920.00
3 19 ก.พ. 2561 22 ก.พ. 2561 11,960.00
รวมงบประมาณ 60,840.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ  การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะ  นำโรคได้เป็นอย่างดี ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง  ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรยุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยไม่ได้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และไข้ลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจัง    เพราะในการลงไปสำรวจแต่ละครั้งบ้านผู้ป่วยและบริเวณใกล้เคียงจะเจอลูกน้ำในภาชนะต่างๆ เช่น โอ่ง ถังใส่น้ำ    อ่างอาบน้ำ จึงทำให้มียุงรุ่นใหม่เกิดได้ตลอดช่วงเวลา จึงไม่สามารถขจัดโรคไข้เลือดออกให้หมดไปจากชุมชนได้    ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาราเฮาะ ได้จัดทำโครงการขึ้น โดยดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์    ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในอาคารบ้านเรือน และชุมชน จัดการสิ่งแวดล้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ ทำความสะอาดรอบบ้านเรือน เก็บขยะ ล้างท่อระบายน้ำไม่ให้มีน้ำขัง เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นการสร้างจุดแข็งของชุมชน ในการดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก    และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาราเฮาะ อ.เมือง จังหวัดปัตตานี ตระหนักถึง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การ  มีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของ    โรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำ    ให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญ ที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชน ในตำบลบาราเฮาะ หมู่ที่1-8 ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง
  1. เพื่อให้ประชาชน ในตำบลบาราเฮาะ หมู่ที่1-8   ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง
450.00
2 2. เพื่อให้ประชาชน ในตำบลบาราเฮาะ หมู่ที่1-8 มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
  1. เพื่อให้ประชาชน ในตำบลบาราเฮาะ หมู่ที่1-8  มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
450.00
3 3. เพื่อให้ประชาชน ในตำบลบาราเฮาะ หมู่ที่1-8 เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  1. เพื่อให้ประชาชน ในตำบลบาราเฮาะ หมู่ที่1-8  เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
450.00
4 4 . เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และชุมชน สะอาดไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

4 . เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และชุมชน สะอาดไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

450.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน ในตำบลบาราเฮาะ หมู่ที่1-8 ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง
  2. ประชาชน ในตำบลบาราเฮาะ หมู่ที่1-8 มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  3. ประชาชน ในตำบลบาราเฮาะ หมู่ที่1-8 เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 4 . สร้างสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และชุมชน สะอาดไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ