กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ตลิ่งชันรวมใจ ป้องกันภัย มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5179-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 1 พฤศจิกายน 2561
งบประมาณ 79,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจะอาเรน บินหมัด
พี่เลี้ยงโครงการ นางรัญชนา หมะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.969,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 628 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ระบุว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของผู้หญิงทั่วโลก มีการประมาณกันไว้ว่า ในทุกๆปี จะพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ มากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ราย และครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น จะเสียชีวิตลง ซึ่งนับได้ว่าทุกๆ ๑ ชั่วโมง จะมีผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึง ๓๐ คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงจากอุบัติเหตุเลยทีเดียวในส่วนของประเทศไทยเอง แต่ละปี จะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย และเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ ๕,๐๐๐ ราย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยนั้นเพิ่มขึ้นจาก ๗ คน เป็น ๑๔ คน ต่อวัน ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความประมาทเพราะคิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง แล้วจะเป็นโรคนี้ผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งสิ้น แม้จะเป็นเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม
สถานการณ์โรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทยปัจจุบันกำลังน่าเป็นห่วงมากขึ้นเช่นกัน หลังพบคนไข้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ถึงปีละ ๑.๕หมื่นราย หรือ เทียบเป็นสถิติสตรีไทย ๒๕คน ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม 1คน และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆจึงเท่ากับว่าสตรีแทบทุกคนมีโอกาสและความเสี่ยงต่อการเป็น หรือ มีคนรอบข้างที่รู้จักเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ทั้งนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลิ่งชันและชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตลิ่งชันได้ดำเนินโครงการ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปีที่ผ่านมา โดยใช้วิธีการคัดกรองเซลล์มะเร็งปากมดลูกคือ Pap smearซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เวลา ในการตรวจคัดกรอง ๒ – ๕ นาที และรู้ผลภายใน ๒ – ๔ สัปดาห์ เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ  35 ( จำนวน628คน )  ของสตรีอายุ  ๓๐-๖๐ ปีของสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๖๐ปี ในตำบลตลิ่งชัน    ภายใน  ๕ ปีสะสม (จำนวน ๑,๗๙๒ คน)ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และตรวจมะเร็งเต้านม

0.00
2 เพื่อส่งต่อสตรีตรวจพบผลเซลล์ปากมดลูกผิดปกติเข้ารับการรักษา

ร้อยละ ๑๐๐  ของกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเซลล์ผิดปกติได้รับการดูแลและส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
6 ก.พ. 61 - 4 มี.ค. 61 อบรมและตรวจคัดกรอง 628 79,000.00 79,000.00
รวม 628 79,000.00 1 79,000.00
  1. จัดโครงการอบรมให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมายและรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจมะเร็งเต้านมจำนวน ๒ วันโดยแบ่งเป็น ๔ หมู่บ้านต่อ ๑ วัน ในวันราชการและ และเพิ่มวันอาทิตย์อีก๒วันเพื่อเป็นช่องทางสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ทำงานประจำและไม่สามารถมาได้ใน วันราชการ รวม ๔ วัน
  2. นำส่งสไลด์ที่ห้องชันสูตรรพ.จะนะ
  3. เจ้าหน้าที่ และ อสม.ประจำเขตเยี่ยมกลุ่มเป้าหมายหลังรับบริการตรวจคัดกรองและแจ้งผลการตรวจ
  4. เจ้าหน้าที่ และ อสม.ประจำเขตเยี่ยมติดตามสตรีกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองและสตรีที่ไปรับบริการตรวจคัดกรองจากที่อื่น
  5. เจ้าหน้าที่ และ อสม.ประจำเขต.ติดตามเยี่ยมและให้กำลังใจผู้ป่วยและญาติในรายที่มีผลการตรวจผิดปกติและส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด
  6. ประเมินความก้าวหน้าและรายงานผลการดำเนินงานแก่หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความตื่นตัว ตระหนักถึงพิษภัยของโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและเข้าร่วมโครงการ
  2. ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามดูแลอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
  3. ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2561 09:43 น.