โครงการรณรงค์กำจัดเหาเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์กำจัดเหาเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน |
รหัสโครงการ | 61-L1536-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ปากแจ่ม |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 9,725.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | รพ.สต.ปากแจ่ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | กองทุนฯ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.737,99.724place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 92 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๖ มุ่งเน้นให้เด็กวัยเรียนพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม สติปัญญา ตามมาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ ๒ รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย สุขภาพอนามัยสำหรับเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งในด้านการรับประทานอาหาร การนอนหลับ การขับถ่าย การเล่น และการทำความสะอาดร่างกาย เด็กทุกคนจึงควรได้รับการส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาด บริเวณศีรษะ ทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหา มักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคล ไม่ถูกต้อง ประกอบกับมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียนคือ ต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ จากผลการตรวจสุขภาพนักเรียนประจำปี ๒๕๖๑ พบว่า มีนักเรียนหญิงที่เป็นเหาทั้งหมด ๑๑๐ คน ซึ่งงานอนามัยโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานในระดับพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์กำจัดเหาเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียนเพื่อกำจัดเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติจัดทำโครงการ สำรวจเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียนที่เป็นเหา จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเหา กิจกรรมกำจัดเหาโดยใช้ยากำจัดเหา จำนวน ๒ ครั้ง ติดตามผล สรุปผลการดำเนินงาน
เด็กนักเรียนที่เคยเป็นเหาแล้วไม่กลับมาเป็นซ้ำ ร้อยละ ๗๐ นักเรียนรายใหม่ทุกคน ไม่เป็นเหา ร้อยละ ๑๐๐ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในเรื่องเหาและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบเหาได้รับการกำจัดเหา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 11:34 น.