กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนสุขภาพกับค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 51,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริสา มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.978,99.731place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ก.พ. 2561 30 ก.ย. 2561 2 ก.พ. 2561 30 ก.ย. 2561 51,500.00
รวมงบประมาณ 51,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วทุกมุมโลกเปลี่ยนไปจากเดิม นิยมรับประทานอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป ไร้เวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย แต่มีเวลาดื่มสังสรรค์ และสูบบุหรี่เพื่อเข้าสังคม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนนำมาซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดัน มะเร็ง อ้วนลงพุ หลอดเลือดสมอง และหัวใจ ทั้งนี้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าสถานการณืผู้ป่วยเบาหวานในไทยเพิ่มจำนวนผู้ป่วยขึ้นเป็น 3.5 ล้านคนในปี 2556 ส่งผลให้มีมูลค่าการรักษาโรคเบาหวานสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกัน โรคมะเร็งเป็นสาเหตุเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่ง ของคนไทยมาตลอด 13 ปีซ้อน โดยที่ปัจจุบันพบว่า คนไทยอ้วน และมีน้ำหนักเกินมาตรฐานเป็นอับดับ 5 ของเอเซีย - แปซิฟิก อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค รายใหม่ ปี พ.ศ. 2551 - 2555 ผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรคสะสม (รายใหม่และเก่า ระยะปี พ.ศ. 2551-2555 จำนวนรวม 5,471,929 ราย โรคความดันโลหิตสูงมีอัตราความชุกสูงสุด คือ พบผู้ป่วย 3,398,412 ราย อัตราความชุก 5,288.01 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ โรคเบา 1,799,977 ราย อัตราความชุก 2,800.81 ต่อประชากรแสนคน โรคเรื้อรังทางเดินหายใจส่วนล่าง 113,602 ราย (176.77) โรคหัวใจขาดเลือด 92,770 ราย (144.35) และโรคหลอดเลือดสมอง 67,168 ราย (104.51)ดูแนวโน้ม ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2555 พบว่า ในปี พ.ศ. 2555 ทุกโรคมีอัตราความชุกของผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าโรคเรื้อรังทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่องค์การอนามัยโลก ประมาณการว่าทุกปีจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 15 ล้านคนทั่วโลก โดยที่ในปี 2573 และจะโรคถุงลมโป่งพองจะขยับขึ้นมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกเป็นอันดับที่ 4
  จากการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตั้งแต่ปี 2558 - 2560 พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในเท่ากับ 9052.63 ,9301.44 และ 8701.92 ต่อแสนประชากร ส่วนอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานเท่ากับ 3559.81 , 3693.78 และ 530.18 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ส่งผลการคัดกรองเบาหวานปี 2559 พบกลุ่มปกติคิดเป็นร้อยละ 89.12 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 6.94 กลุ่มสงสัยร้อยละ 1.92 เมื่อเปรียบเทียบการคัดกรองเบาหวานในปี 2560 พบว่ากลุ่มปกติลดลง ซึ่งพบกลุ่มปกติเป็นร้อยละ 94.34 ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มสงสัยมีแนวโน้มพบเพิ่มมากขึ้น โดยพบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 5.23 และกลุ่มสงสัย ร้อยละ 0.42 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ดี ดำเนินการได้ ร้อยละ 19.22 ซึ่งไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ดำเนินการได้ ร้อยละ 18.91 ซึ่งไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดคิดเป็นร้อยละ 84.09 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด   การบริการสาธารณสุขเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพเท่านั้น การทำงานแบบเดิมๆ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแม้จะเป็นการทำงานเชิงรุกก็จริง ผลสำฤทธิ์ตามตัวชี้วัดดีขึ้น แต่ไม่สามารถเอาสุขภาวะกลับคืนมาได้ คนที่เป็นเจ้าของสุขภาพไม่ใช่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่เป็นคนทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ ทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ร่วมเรียนรู้ รับรู้ เข้าใจ ตระหนัก และสุดท้าย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้อง ต้องรู้ว่าการเสียสุขภาพคือ ทุกภาวะ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมผิดๆ ไม่ใช่เกิดจากเชื่้อโรค เมื่อมีการปรับเปลี่ยนพฤิกรรมไปในทางที่ถูกต้องร่วมกันแล้ว จำเป็นจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจัง
  หลังจากการดำเนินงานกิจกรรมค่ายฯ ทางสมาชิกผู้เข้าค่าย จึงได้จัดตั้งกลุ่มการดำเนินงานกิจกรรมค่ายขึ้นมา 1 กลุ่ม คือ กลุ่มค่ายปฏิวัติชีวิต พิชิตอ้วน พิชิตโรค เพื่อให้สมาชิกได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานเป็นผู้ดำเนินการดูแล แต่ผู้ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และประสบผลสำเร็จในการควบคุมป้องกันโรคเรื้อรังดังกล่าวข้างต้น ในปีที่ผ่านมามีเพียงส่วนน้อย เพราะมีปัญหาอุปสรรค์ คือผู้ที่มาเข้าค่ายปรับพฤติกรรมต่อเนื่อง ต้องจ่ายค่าผักและผลไม้สดถึงเดือนละ 500 บาท ทำให้เหลือผู้เข้าค่ายที่ประเมินผลได้เพียง 40 คน จากเดิมที่เข้าค่ายพักแรม 100 คน ในปีนี้ทางค่ายปฏิวัติชีวิตฯ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อการดำเนินการที่ต่อเนื่องและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เพื่อป้องกัน และลดปัญหาโรคเรื้อรังในตำบลหนองบัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่

เข้าค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตอ้วนพิชิตโรค 2 วัน ผู้เข้าค่ายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสามารถลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้ ร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ผู้เข้าค่ายที่เป็นกลุ่มป่วย สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 50
พบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 10 พบผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 51.00 2 51,500.00 -51,449.00
3 - 5 พ.ค. 61 เข้าค่ายพักแรม 2 วัน 2 คืน 0 40.00 40,500.00 -40,460.00
7 พ.ค. 61 - 16 ก.ค. 61 เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง 0 11.00 11,000.00 -10,989.00
รวมทั้งสิ้น 0 51.00 2 51,500.00 -51,449.00
  1. ประชุมชี้แจงขั้นตอนและรูปแบบการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง
  2. เปิดรับสมัครกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรังผู้ประสงค์จะเข้าค่ายฯ
  3. จัดกิจกรรมเข้าค่ายปฏิวัติชีวิต พิชิตอ้วนพิชิตโรคซึ่งเป็นค่ายพักแรมเพื่อการปฏิวัติพฤติกรรมสุขภาพ ให้ถูกต้องลดเสี่ยงลดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมโดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโดยมีตัวช่วยคือ ดื่มน้ำผักและผลไม้สด รสไม่หวาน ผ่านการปั่น วันละ 3 มื้อก่อนอาหารเพื่อให้ได้รับเอนไซม์จากผัก ซึ่งเป็นโปรตีน โดยใช้ กลยุทธ์เพื่อการประสบความสำเร็จ : สร้างศรัทธาความเชื่อมั่นว่าโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ด้วยพฤติกรรม 3 อ.
  4. เข้าค่ายแบบพักแรมที่ รพ.สต.หนองบัว 2 วัน 2 คืน

- แบ่งผู้เข้าค่ายเป็นกลุ่มสี เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน - ตรวจหาระดับไขมันในเลือดกลุ่มเข้าค่าย ก่อนเริ่มกิจกรรม - อบรมให้ความรู้หลักการปฏิวัติชีวิต เพื่อนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันหลังออกจากค่าย - สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม - แข่งขันการออกกำลังกายแบบบาสโลบ - ดื่มน้ำผักและผลไม้สด 3 มื้อก่อนอาหาร - สาธิตการทำน้ำผักและผลไม้สดรสไม่หวาน - จัดทำอาหารเมนูลดอ้วนลดโรค - ประกวดเมนูอาหารสุขภาพของแต่ละกลุ่มสี - กิจกรรมรอบกองไฟในเวลากลางคืนเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิต - เข้าค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตอ้วนต่อเนื่องด้วยกิจกรรม : ปั่น - ดื่ม - ฟิต - ฝึกจิต - ดู -ปรับ 5. ให้สมาชิกค่ายฯปลูกผักสวนครัวที่บ้านคนละชนิดเพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมปั่นน้ำผัก โดยทางค่ายจะสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยชีวภาพให้และนำมาจำหน่ายให้กับค่ายฯในราคาถูกกว่าท้องตลาด 6. ดำเนินกิจกรรมค่ายฯต่อเนื่องไม่มีกำหนดเพื่อจัดการกับโรคเรื้อรังในตำบลหนองบัว 7. ประเมินผลการปฏิวัติชีวิตหลังเข้าค่าย 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ผ่านการเข้าค่ายปฏิวัติชีวิตพิชิตอ้วนพิชิตโรคมีภาวะสุขภาพดีขึ้นคือ ภาวะเสี่ยงลดลงในกลุ่มเสี่ยงและสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2561 11:04 น.