กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ เยี่ยมแม่ดูแลลูกเพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในชุมชน ”
ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง



หัวหน้าโครงการ
นางมาริสา มากเพ็ง




ชื่อโครงการ เยี่ยมแม่ดูแลลูกเพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในชุมชน

ที่อยู่ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561

กิตติกรรมประกาศ

"เยี่ยมแม่ดูแลลูกเพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในชุมชน จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองบัว ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เยี่ยมแม่ดูแลลูกเพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการ " เยี่ยมแม่ดูแลลูกเพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในชุมชน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 12,250.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองบัว เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ในข้อ 4 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิตและข้อ 2 นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ วัยเด็ก วัยเจริญพันธุ์ วัยบรรลุนิติภาวะ วัยชรา และผู้พิการ โดยส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ด้วยการพัฒนาเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เด็กแรกเกิด เด็กก่อนวัยเรียนและเยาวชนทุกช่วงวัย ให้มีความรู้คู่จริยธรรม ให้ความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วง 6 เดือนแรก สนับสนุนให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่มีคุณภาพ ขจัดการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนในรูปแบบตลอดจนสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนรวมกันทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคมควบคู่กับการเรียนรู้จากกิจกรรมรวมถึงส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆเพื่อสร้างความฉลาดทางปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเด็กและเยาวชนของชาติ งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องรวมถึงการบริการการลูแลเด็กในช่วงปฐมวัย 0-5 ปี เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัยทั้งด้านร่างกายอารมณ์ สังคมและสติปัญญา อีกทั้งนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กเป็นนโยบายสำคัญซึ่งมีเป้าหมาย คือ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยเด็กมีการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เหมาะสมตามวัยด้วยการมีส่วนรวมของครอบครัวชุมชนและบุคลากรผู้ให้บริการ ตลอดจนสถานบริการให้มีคุณภาพมาตรฐานสามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ในปี 2560 นั้น พบว่ามีบางตัวชี้วัดหลายตัวที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดจำนวน 3 ครั้ง ไม่ครบตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 60 แต่พบว่ามารดาอายุต่ำกว่า 20 ปีตั้งครรภ์ซำ้มีแนวโน้มลดลงคิดเป็นร้อยละ 7.01 จากปีงบ 2559 ร้อยละ 11.11 ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.37 ซึ่งเกณฑ์ต้องไม่เกินร้อยละ 7 จากโครงการเยี่ยมแม่ ดูแลลูก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอดในชุมชน ปีงบประมาณ 2560 พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีแนวโน้มสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 90.91 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ และได้รับการฝากครรภ์คุณภาพจำนวน 5 ครั้ง ครบถ้วนตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 87.18 อัตราการคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราลดลง คิดเป็นร้อยละ 5.26 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งผู้จัดทำจึงคิดทำโครงการเยี่ยมแม่และทารกหลังคลอดอย่างต่ิเนื่อง เพื่อได้มีแนวทางดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว คือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรบาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ และเสริมทักษะการดูแลหลังคลอดและทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัยหาอนามัยแม่ และเด็ก จึงจัดทำ โครงการเยี่ยมแม่ ดูแลลูก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอดในชุมชน อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลระหว่างการตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลระหว่างการตั้งครรภ์ มีน้ำหนักได้มาตรบานตามเกณฑ์ คลอดบุตรที่มีอายุครรภ์ครบกำหนด น้ำหนักทารกมากกว่า 2,500 กรัม มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิด - 6 เดือน ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง มีสุขภาพที่ดีปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุ 12 สัปดาห์
  2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 5 ครั้ง
  3. เพื่อลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20
  4. เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม
  5. เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
  6. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดจำนวน 3 ครั้งตามเกณฑ์ได้รับการติดตามเฝ้าระวังอาการผิดปกติหลังคลอด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ติดตามหญิงตั้งครรภ์และเยี่ยมเด็กแรกเกิดทุกคน
  2. อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และ อสม.

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อสม. ในพื้นที่ค้นหา ติดตามและกระตุ้นให้หญิงมีครรภ์มารับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  2. หญิงมีครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และบริการตรวจครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  3. หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้สมบูรณแข็งแรง น้ำหนักดี พัฒนาการสมวัย คลอดทารกน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม
  4. หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน
  5. หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอดจำนวน 3 ครั้งตามเกณฑ์ ไม่เกิดภาวะผิดปกติหลังคลอดสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดสมบูรณ์แข็งแรง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และ อสม.

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และ อสม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. หญิงตั้งครรภ์และ อสม. ได้รับการพัฒนาศักยภาพในงานอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 51 คน คิดเป็ยร้อยละ 100

 

50 0

2. ติดตามหญิงตั้งครรภ์และเยี่ยมเด็กแรกเกิดทุกคน

วันที่ 31 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.ดำเนินการติดตามหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดทุกคนที่อาศัยอยู่ในตำบลหนองบัว ในปีงบประมาณ 2561 พร้อมให้อาหารเสริมสำหรับบำรุงมารดาที่มีน้ำหนักตัวน้อยในขณะตั้งครรภ์ และในรายที่แพทย์สงสัยว่าเด็กมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติรวมถึงมารดาที่มีครรภ์เสี่ยง เช่น มีภาวะซีด และมีการติดตามหญิงหลังคลอดเพื่อให้อาหารเสริมแก่หญิงหลังคลอดที่ผ่านเกณฑ์ 2 ใน 3 ข้อ เพื่อส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดมีความตระหนักในการดูแลตัวเอง ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ไปจนถึงระยะหลังคลอด ตามเกณฑ์ 2 ใน 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ฝากครรภ์ก่อนอายุ 12 สัปดาห์ - ฝากครรภ์ครบเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 5 ครั้ง - คลอดบุตร อายุน้อยกว่า 20 ปี 2. ดำเนินการติดตามเยี่ยมเด็กแรกเกิดทุกคน ที่เกิดปีงบประมาณ 2561 พร้อมให้อาหารเสริมสำหรับมารดาหลังคลอด เพื่อส่งเสริมมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตาใเกณฑ์ ดังนี้ - ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม - มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมอย่างน้อย 6 เดือน 3. จัดประกวดวาดภาพ photo voice ให้แก่เจ้าหน้าที่ อสม. ที่ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดใน หัวข้อ สายใยรักจากแม่สู่ลูก โดยมีเกณฑ์การประกวด ดังนี้ - อสม.ติดตามเยี่ยมหญิงหลังคลอดในความดูแลครบ 3 ครั้ง โดยมีหลักฐานแสดง - รูปภาพมีองค์ประกอบครบถ้วน ภาพสื่อความหมายชัดเจน จะได้รับเกียรติบัตร 4. ประเมินผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 86.84 2.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณ์ คิดเป็นร้อยละ 75 3.หญิงตั้งครรภ์อายุไม่เกิน 20 ตั้ครรภ์ซำ้ คิดเป็นร้อยละ 4.16 4.มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 60 5. ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 10.26 6. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดจำนวน 3 ครั้ง ตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 82.5

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุ 12 สัปดาห์
ตัวชี้วัด : อัตราความครอบคลุมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 60
0.00

 

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 5 ครั้ง
ตัวชี้วัด : อัตราความครอบคลุมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 60
0.00

 

3 เพื่อลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20
ตัวชี้วัด : อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ให้น้อยกว่าร้อยละ 10
0.00

 

4 เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม
ตัวชี้วัด : อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ให้น้อยกว่าร้อยละ 7
0.00

 

5 เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
ตัวชี้วัด : อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มากกว่าร้อยละ 50
0.00

 

6 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดจำนวน 3 ครั้งตามเกณฑ์ได้รับการติดตามเฝ้าระวังอาการผิดปกติหลังคลอด
ตัวชี้วัด : อสม. ได้รับการพัฒนาศักยภาพในงานอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 50 คนและหญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอดจำนวน 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุ 12 สัปดาห์ (2) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 5 ครั้ง (3) เพื่อลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 (4) เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม (5) เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน (6) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดจำนวน 3 ครั้งตามเกณฑ์ได้รับการติดตามเฝ้าระวังอาการผิดปกติหลังคลอด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ติดตามหญิงตั้งครรภ์และเยี่ยมเด็กแรกเกิดทุกคน (2) อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และ อสม.

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


เยี่ยมแม่ดูแลลูกเพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในชุมชน จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางมาริสา มากเพ็ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด