กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตวัยทำงาน วัยผู้สูงอายุตำบลควน ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2990-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควน
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 67,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคูซัยบะห์ ดือราแมง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสายใจ บัวแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.762,101.493place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 960 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 492 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 330 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยแม้จะยังอยู่ในช่วงของการได้เปรียบทางประชากร คือ มีวัยแรงงาน (15-59 ปี) ซึ่งเป็นวัยที่ก่อให้เกิดผลผลิตทางด้านเศรษฐกิจ และมีส่วนสำคัญต่อฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ในสัดส่วนที่สูงกว่าวัยอื่นๆ (ร้อยละ 67) แต่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าคนวัยทำงานนี้จะค่อยๆ ลดลงจากอัตราการเกิดที่ลดลง และการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว การเตรียมพร้อมเพื่อการเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี พึ่งตัวเองให้ได้มากที่สุด และเป็นภาระต่อสังคมน้อยที่สุด ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกับกลุ่มวัยทำงานที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุนั้น ต้องตระหนักและให้ความสำคัญอย่างมาก ข้อมูลจากการสำรวจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบประเด็นน่าสนใจในเรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนวัยทำงาน โดยเริ่มต้นจากการบริโภคอาหาร ที่ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงอย่างแรกที่ถูกละเลยโดยไม่สนใจว่าในแต่ละวันได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ หรือครบ 3 มื้อหลักหรือไม่โดยพบว่าคนในวัยทำงานมีการบริโภคอาหารหลักครบทั้ง 3 มื้อ น้อยกว่าวัยอื่นๆ อย่างชัดเจน นอกจากนี้คนวัยทำงานยังออกกำลังกายน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด แม้จะมีการรณรงค์ให้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกันอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ก็ยังพบว่าคนวัยทำงานเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ออกกำลังกายคนวัยทำงานยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยการดื่มสุราและสูบบหรี่ แม้จะรู้ถึงโทษและพิษภัยว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่ก็ยังเลือกที่จะดื่มสุราและสูบบุหรี่ ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา พบว่าวัยทำงานดื่มสุราและสูบบุหรี่มากกว่าวัยอื่นอย่างชัดเจน ประเทศไทยนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จำนวนประชากรผู้สูงอายุประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 และแนวโน้มผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่คนเดียวหรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้นซึ่งทั้งสองกลุ่มวัยนี้หากได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพด้วยการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น จะเป็นการป้องกันโรคที่มีความรุนแรงโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดมีการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมจะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้การดูแลสุขภาพทั้งสองกลุ่มวัยทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไขมันในเลือดสูงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รักษาไม่หาย ภาวการณ์พึ่งพา การดูแลอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว อีกทั้งแนวโน้มเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆก็จะลดน้อยลง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตวัยทำงานวัยผู้สูงอายุตำบลควนประจำปี 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรอความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 2.พื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ 3.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เกิดขึ้นซึ่งจะเป็นการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง 4.เพื่อให้ผู้อายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สุงอายุ

1.กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 960 คน 2.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และเบาหวาน จำนวน 330 คน 3.ประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 492 คน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

๑. ประชุมชี้แจงโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ๒. สำรวจและจัดทำรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย ๓. จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ๔. ให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ๕ .กิจกรรมการคืนข้อมูลแก่กลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการใช้ปิงปองจราจร7สี ๖. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ๗. กิจกรรมการประเมินการคัดกรองผู้สูงอายุ ๘.ประเมินผล/รายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนที่มีอายุ๓๕ ปีขึ้นไปและผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน/ตรวจคัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพ ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นและกลุ่มป่วยมีภาวะแทรกซ้อนลดน้อยลงผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระพึงพาของลูกหลาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2560 13:31 น.