โครงการเด็กกำพร้า สุขภาพใจ สุขภาพกายดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กกำพร้า สุขภาพใจ สุขภาพกายดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L3005-1-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองการศึกษา อบต.บางเก่า |
วันที่อนุมัติ | 7 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 28 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 8,995.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมัสเตาะ ยามา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.764,101.591place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 0.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (8,995.00 บาท)
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 43 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ได้ให้ความหมายของคำว่่าเด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสและคำว่า "เด็กกำพร้า" หมายความว่าเด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดาหรือมารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดหรือมารดาได้โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีหลักการสำคัญคือ การระดมทรัพยากรทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็ก เพื่อประโยชน์สุูงสุดของเด็ก และส่งเสริมหน้าที่ความรับผิดชอบของครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการร่วมมือกันคุ้มครองเด็ก โดยในมาตรา 23 กล่าวคือ "ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนีียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่นแต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฏกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใ ดยเด็กต้องอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมต้องได้รับการเลี้ยงดูให้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงได้เรียนรู้ด้านจริยธรรม
ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศไทยต้องเกิดการชะลอตัว ค่าครองชีพ เครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูงรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายทำให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่เด็กกำพร้า ทำให้เด็กกำพร้าขาดโอกาสในการออกมาทำกิจกรรมในตำบล บางรายอาจเกิดความน้อยใจและถ้าไม่ได้รับการชี้นำแนวทางที่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภายภาคหน้า กอรปกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฏหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ต้องทำ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังนี้ (6) ส่งเสริม พัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กกำพร้าในตำบลให้ดีขึ้นและครอบคลุมทุกพื้นที่ของตำบลบางเก่า องค์การบริหารส่วนตำบลบางเก่าจึงได้จัดทำโครงการเด็กกำพร้า สุขภาพใจ สุขภาพกายดี ประจำปี 2561 เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและสร้างกำลังใจแก่เด็กกำพร้า ส่งผลให้เด็กกำพร้ามีกำลังใจในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่ออบรมให้ความรู้แก่เด็กกำพร้าให้มีความรู้เรื่อง "การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัยของเด็กกำพร้า" เด็กกำพร้ามีความรู้เรื่องสุขอนามัย |
0.00 | |
2 | 2. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกลุ่มเด็กกำพร้าในตำบลเห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป เด็กกำพร้ามีขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต |
0.00 | |
3 | 3. ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ก่อให้เกิดความปรองดอง สามัคคีในหมู่เด็กกำพร้า ผู้ดูแล ประชาชนและหน่วยงานที่จัดอบรมในตำบล
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเก่า 3.ดำเนินการตามโครงการ 4.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
1.เด็กกำพร้ามีความรู้เรื่องสุขอนามัยด้านการโภชนาการต่าง ๆ และการออกกำลังกาย 2.ผู้เข้าร่วมอบามมีความรู้ในเรื่องการปรับตัวเข้ากับสังคม และมีขวัญกำลังใจเห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมท่ี่จะดำรงชีวิตต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2561 11:01 น.