กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมวิถีสุขภาพของชุมชนเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ป้องกันโรค
รหัสโครงการ L61-L5254-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.คูหา
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อบต.คูหา
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.คูหา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระบบสุขภาพชุมชน หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันที่ทำให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในชุมชนโดยความร่วมมือกันของสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีสุขภาพดีทุกมิติ โดยชุมชนเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการร่วมกับท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่เหตุผลที่ชุมชนท้องถิ่นต้องร่วม“จัดการ” สุขภาพเพราะ1. เพราะชุมชนและท้องถิ่น คือฐานของประเทศ ถ้าชุมชนเข้มแข็งและสามารถจัดการปัญหาต่างๆ ได้ดี ประเทศชาติก็จะเข้มแข็งการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนจะต้องจัดการพัฒนาหลายๆ ด้าน ไปพร้อมกัน โดยเริ่มจากระดับชุมชนขึ้นมา มิใช่เริ่มจากนโยบายของรัฐบาลลงมาสู่ชุมชนเหมือนเช่นในอดีต2. เพราะการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คือพื้นฐานความเป็นธรรมของสังคม ระบบสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งจะดูแลคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและทำให้ทุกคนได้รับสิทธิเสมอกัน ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สังคมเกิดความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำอันเป็นช่องว่างและเป็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาสุขภาพดังนั้นรัฐจึงต้องทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพของรัฐรวมทั้งประโยชน์พื้นฐานต่างๆให้ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกกลุ่ม 3. เพราะสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลังจากที่ประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เราได้มีการเตรียมการรับมือกับปัญหานี้โดยการเตรียมระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบบูรณาการ ซึ่งต้องประกอบด้วยการจัดการด้านเศรษฐกิจ สังคม การรักษาพยาบาล นอกจากนี้ยังได้เตรียมการในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวและระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระบบที่ต้อง อาศัยการดูแลและเกื้อกูลจากชุมชนเป็นหลัก 4. เพราะเรากำลังเผชิญหน้ากับเพชฌฆาตเงียบที่เรียกว่า “โรคเรื้อรัง” ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตและเกิดภาระค่าใช้จ่ายมากที่สุดคือ ปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวาย เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง 5.เพราะต้องการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุห่างไกลภาวะพึ่งพิง เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จะมีปัญหาของโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ การอักเสบต่างๆ ของข้อ ทำให้เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหว และการช่วยตัวเอง ของผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะลุกลามจนกระทั่งทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เช่น กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง เนื่องจากการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก และในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแล จำเป็นต้องดำเนินการทั้งเรื่องการดูแลผู้ป่วย การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการปรับพฤติกรรมและค่านิยมของประชาชน ซึ่งจะต้องทำอย่างต่อเนื่องด้วยกลยุทธ์ที่เข้าถึงและเข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรมและรากเหง้าของชุมชน จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น และสถิติข้อมูลสุขภาวะของคนในชุมชนคูหาพบว่า ปัญหาสุขภาวะทางกายที่สำคัญของคนในตำบลคูหาทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน และวัยสูงอายุ คือ คนในชุมชนประสบกับปัญหาภาวะความเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ อันประกอบด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคกระดูกและข้อ โดยสาเหตุสำคัญมาจากการพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน ด้วยวิถีชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไปองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา /เห็นความสำคัญ... - 2 -

เห็นความสำคัญของสุขภาวะทางกายที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการมีสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชนโดยการรณรงค์ สร้างจิตสำนึกที่ดีในการคำนึงถึงสุขภาพตั้งแต่กระบวนการปรุงอาหารในครัวเรือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในชุมชนลดความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อลดอัตราการเป็นโรคที่ป้องกันได้และความสำคัญปัญหาสุขภาวะทางใจโดยเฉพาะในกลุ่มวัยผู้สูงอายุมีจำนวนผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากวิถีชีวิตของชุมชน ทั้งด้านการบริโภค และการเป็นอยู่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยที่ต้องการความรวดเร็ว
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลคูหา จึงกำหนดจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคขึ้นภายใต้ชื่อ โครงการส่งเสริมวิถีสุขภาพของชุมชนเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ป้องกันโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อการส่งเสริมป้องกันโรค (Health Promotion) ในประชาชนทุกกลุ่มอายุ และมุ่งเน้นในกลุ่มผู้สูงอายุที่ ช่วยเหลือตัวเองได้และช่วยเหลือตนเองไม่ได้

ประชาชนทุกกลุ่มอายุ และมุ่งเน้นในกลุ่มผู้สูงอายุที่ ช่วยเหลือตัวเองได้คิดเป็นร้อยละ

70.00
2 2) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคมและพบปะเพื่อนฝูง

ผู้สูงอายุได้เข้าสังคมและพบปะเพื่อนฝูง คิดเป็นร้อยละ

80.00
3 3) เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุได้แสดงออกถึงศักยภาพ สร้างคุณค่าให้ตัวเอง

ผู้สูงอายุได้แสดงออกถึงศักยภาพ สร้างคุณค่าให้ตัวเอง คิดเป็นร้อยละ

100.00
4 4) เพื่ออนุรักษ์อาหารไทย/พืชสมุนไพรท้องถิ่นที่สามารถป้องกันและรักษาสุขภาพ

ผู้สูงอายุรู้จักการดูแลสุขภาพตนเองด้วยอาหารไทย/พืชสมุนไพรท้องถิ่นที่สามารถป้องกันและรักษาสุขภาพ

100.00
5 5) เพื่อบูรณาการการดูแลร่วมกับภาคีเครือข่าย

มีการดูแลผู้สูงอายุร่วมกับภาคีเครือข่าย คิดเป็นร้อยละ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,000.00 0 0.00
11 - 13 เม.ย. 61 ให้ความรู้และตรวจสุขภาพและชุดดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พร้อมสาธิตเครื่องดื่มสมุนไพรพื้นถิ่นที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพและปรับสมดุลร่างกาย 0 50,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ตำบลคูหาตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีพ โดยเฉพาะการบริโภคที่ช่วยลดภาวะการเกิดโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิต
2) ประชาชนกลุ่มสูงอายุได้รับความรู้ และตระหนักถึงคุณค่าในตนเองส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดี
3) ชุมชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการร่วมกันดูแลสุขภาพของชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2561 11:27 น.