กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดรกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุก
รหัสโครงการ 61-L4120-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต ซาไก
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 24 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสากีนะห์ ตอแลมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.105,101.204place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 เม.ย. 2561 31 พ.ค. 2561 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2558-2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซาไก พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองร้อยละ 57.76 เกณฑ์ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มจากเดิมร้อยละ 100 ตลอด 5 ปี โดยไม่ซ้ำจากปีก่อนในปี 2561 เพื่อให้บรรลุผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ชี้วัดยุทธศาสตร์ให้กลุ่ม เป้าหมายได้รับการตรวจอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซาไกจึงจัดทำโครงการแกนนำสตรีร่วมด้วยช่วยกันต้านภัยมะเร็งปากมดลูก อย่างต่อเนื่องต่อยอดจากโครงการเดิมแต่เน้นกลุ่มเป้าหมายไม่ซ้ำจากเดิม ซึ่่งนับว่าเป็นวิธีการในการป้องกันโรคที่ได้ผลและประสิทธิภาพ แกนนำสตรี นี้เป็นบุคคลสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจและชักนำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญในการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยใช้วิธีการ door to door เคาะประตูบ้านกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้และนำไปสู่การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในที่สุด นอกจากนี้สามารถเป็นแกนนำ ในการสร้างเครือข่ายในการป้องกันโรคซึ่งนำไปสู่การบริการที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ โรคมะเร็ง ปากมดลูกและตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ โรคมะเร็ง ปากมดลูกและตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาถูกต้องและเร่งด่วน

กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาถูกต้องและเร่งด่วน

0.00
4 เพื่อกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาถูกต้องและเร่งด่วน

กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาถูกต้องและเร่งด่วน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 35-70 ปี 60 15,000.00 15,000.00
รวม 60 15,000.00 1 15,000.00

1.จัดทำโครงการเพื่ือขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน 3.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกควบคู่กับมะเร็งต้านมประชากร 30-60 ปี ในเขตรับผิดชอบ 4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน อสม. และภาคีเครือข่าย 5.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ 6.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆ ในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน 7.ติดต่อวิทยกร อาหารสำหรับการจัดอบรมสำหรับ 8.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 9.ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ 10.ประเมินผล สรุป ผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจโรคมะเร็งปากมดลูกและตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก 2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20 3.กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาถูกต้องและเร่งด่วน 4.แกนนำป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2561 12:11 น.