โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและดูแลผู้ป่วยให้ห่างไกลภาวะแทรกซ้อน
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและดูแลผู้ป่วยให้ห่างไกลภาวะแทรกซ้อน |
รหัสโครงการ | 61-L5203-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ปลักหนู |
วันที่อนุมัติ | 2 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 เมษายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 49,532.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | รพ.สต.ปลักหนู |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอะหมัดหลีขาหรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปลักหนู อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.676,100.663place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 90 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 90 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 90.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนหากไม่หลีกเลี่ยงหรือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ก่อให้เกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกได้แก่การมีไขมันในเลือดผิดปกติความดันโลหิตสูงมีภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน นอกจากนี้ยังมีภาวะผิดปกติอื่นๆในกระแสโลหิตมีแนวโน้มให้เกิดการอักเสบในผนังหลอดเลือดและเกิดลิ่มเลือดแข็งตัวได้ง่ายจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพอย่างเงียบ ๆ ก่อให้เกิดโรคหลายอย่าง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายในระดับต้นๆ สาเหตุที่ก่อให้กลุ่มอาการเมตาบอลิกได้แก่พฤติกรรมบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ภาวะความเครียด ดื่มสุราสูบบุหรี่ภาวะฮอร์โมนผิดปกติรวมถึงปัจจัยด้านอายุอายุเพิ่มมากขึ้นยิ่งมีผลต่อความเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิกมากขึ้น ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกายเพื่อควบคุมและลดน้ำหนักตัว ควบคุมอารมณ์ งดการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ จึงเป็นแนวทางแรกของ การต่อสู้ภาวะเมตาบอลิก ซึ่งทุกคนสามารถกระทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายซึ่งสอดคล้องกับกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเองจากการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในปี 2559 ผลการตรวจคัดกรองในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีผู้ได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีตรวจน้ำตาลจากปลายนิ้ว จำนวน 2,164 คน พบกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 100 - 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร(เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน) ร้อยละ 12.24 และพบกลุ่มที่มี ระดับน้ำตาลในเลือด 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป ร้อยละ 1.76 ซึ่งได้ส่งตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานและรักษา ร้อยละ 0.59 ผลงานการคัดกรองความดันโลหิตสูง พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต 120/80-139/89 มิลลิเมตรปรอท (เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจ หลอดเลือด) ร้อยละ 35.97 และพบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต140/90 มิลลิลิตรปรอทขึ้นไป ร้อยละ 6.71 ซึ่งได้ส่งตรวจ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่ดีของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง |
90.00 | 90.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
9 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 | กิจกรรมการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง | 90 | 33,000.00 | - | ||
9 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 | จัดให้บริการวัดความดันโลหิตสูง วัดรอบเอว และเจาะ DTX ในกลุ่มประชาชน 35 ปีขึ้นไป โดย อสม.ประจำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหมู่บ้านแต่ละหมู่ | 90 | 16,532.00 | - | ||
รวม | 180 | 49,532.00 | 0 | 0.00 |
กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
1) ชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานให้กับ อสม.เกี่ยวกับการคัดกรองโรค วัความดันโลหิตสูงและการเจาะ DTX ให้กับ
ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป
2) จัดให้บริการตรวจคัดกรองวัดความดันโลหิตสูง วัดรอบเอว และเจาะ DTX ในกลุ่มประชาชน 35 ปีขึ้นไป โดย อสม.ประจำ
หมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหมู่บ้านแต่ละหมู่
3.)เมื่อคัดกรองเสร็จแล้วนำคัดแยกออกเป็นกลุ่มเสี่ยงเสี่ยงสูงสงสัยเป็นโรค
กิจกรรมที่ 2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.
1)จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2)จัดให้กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
โดยจัดกิจกรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Day Camp ) กิจกรรมประกอบด้วย
- การตรวจร่างกายวัดความดันโลหิตสูง ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว
- ประเมินความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย ก่อนเข้าร่วมโครงการ
- กิจกรรม “สาธิตโมเดลการไหลเวียนของเลือด” เป็นการให้ความรู้เรื่องกลไกการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
- กิจกรรมอาหารกับพลังงานที่สมดุล เป็นการให้ความรู้ คำแนะนำการปฏิบัติตนเรื่องการรับประทานอาหาร
- กิจกรรมการออกกำลังกายโดยการแกว่งแขนเป็นการส่งเสริมทักษะในเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสม
3)การติดตามผล
1.) กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง ติดตามตรวจวัดความดันโลหิตสูงวัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกายลงบันทึกในสมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยง (ติดตามทุก 1 เดือน3 เดือน 6 เดือน)
2.) กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน ติดตามตรวจวัดความดันโลหิตสูงวัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกายวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยการเจาะเลือดปลายนิ้วลงบันทึกในสมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยง (ติดตามทุก 1 เดือน3 เดือน 6 เดือน)
3.) ดำเนินการส่งต่อกลุ่มป่วยรายใหม่พบแพทย์ตามมาตรฐานการรักษา
กิจกรรมที่ 3 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
1.) จัดให้กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา หัวใจ และเท้าโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จากโรงพยาบาลสมเด็จฯ นาทวี
1) ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในตำบลปลักหนูทุกคน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมาตรฐานตามเกณฑ์ 2) กลุ่มเสี่ยงได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง 3) อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 12:28 น.