โครงการสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็กตำบลปลักหนู
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็กตำบลปลักหนู |
รหัสโครงการ | 61-L5203-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู |
วันที่อนุมัติ | 2 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 13,032.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายคมสันติ์ปิ่นแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอะหมัด หลีขาหรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปลักหนู อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.676,100.663place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้านๆ ประการสำคัญนั้น ควรมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก..เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่การปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต..โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูแลที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป ซึ่งปัจจุบันพบว่าข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของจังหวัดสงขลายังมีปัญหาหลายด้านที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ และไม่ตระหนักในการฝากครรภ์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ อันก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย การตายของทารกและมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้
จากการสำรวจข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสงขลา (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2560) พบว่า หญิงหลังคลอด มีจำนวน 21,009 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.51 ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 408 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.50 ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขต้องพบไม่เกินร้อยละ 7 ในส่วนของตำบลปลักหนูปี 60 พบหญิงหลังคลอด มีจำนวนราย59 คนและทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ8.47 มีภาวะซีด 10 รายคิดเป็นร้อยละ16.94 ฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ 52 คนคิดเป็นร้อยละ88.14 ฝากครรภ์ครบ 5ครั้ง ตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 76.27 ซึ่งจากภาพรวมของข้อมูลดังกล่าวนั้นต่ำกว่าเกณฑ์ทำให้เห็นถึงปัญหาอันเกิดจากการที่มารดาขณะตั้งครรภ์นั้นมีน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ ปฏิบัติตัวไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งแนวทางการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวนั้น คือ ต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับบริการการฝากครรภ์ มีการเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกๆ ด้านตามวัย
ดังนั้น จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย ดังนั้น ฐานแม่อาสาจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็ก
ปี 2561นี้ขึ้นมาเพื่อให้มารดาทารกที่อยู่ในครรภ์และที่จะเกิดมาในอนาคตได้รับการดูแลที่ถูกวิธีเพื่อให้มีสุขภาพกายสุขภาพที่ดี และเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม และมาฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ น้ำหนักไม่เกินร้อยละ 7 -ฝากครรภ์คุณภาพร้อยละ 90 |
0.00 | |
2 | พัฒนาการเด็กคลอดออกมาและสมวัย พัฒนาการสมวัยร้อยละ90 |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
4.1 เจ้าหน้าที่รพ.สต.ปลักหนู ประสานงานกับโรงพยาบาลในเครือข่าย เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหญิงตั้งครรภ์
4.2 เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ปลักหนู อสม. และกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปลักหนูร่วมประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
4.3จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลังคลอดแก่กลุ่ม
หญิงวัยเจริญพันธุ์ และหญิงมีครรภ์ในพื้นที่
4.4 ติดตามเยี่ยมบ้านรายละ 1 ครั้ง
4.5 สรุปถอดบทเรียนและประเมินผลการดำเนินโครงการ
4.6 สรุปโครงการเสนอต่อคณะกรรมการ
9.1 ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมไม่เกินร้อยละ 7 9.2 ทารกแรกเกิด - 6 เดือน มีพัฒนาการสมวัย 9.3 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแลตนเองหลังคลอด ตลอดจนสามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้องและมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และฝากครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 13:32 น.