สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ชื่อโครงการ | สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี |
รหัสโครงการ | 61-L5203-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลปลักหนู |
วันที่อนุมัติ | 2 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 9 เมษายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 30,232.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | องค์การบริหารส่วนตำบลปลักหนู |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอะหมัด หลีขาหรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปลักหนู อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.676,100.663place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ในมาตรา 67 (3) คือ ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อและพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 16 (19)คือ การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง เมื่อเป็นโรคแล้วไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคจะต้องตายทุกคน ซึ่งโรคนี้จะมีพาหะที่นำโรคคือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนู เป็นต้น เมื่อคนไปสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคหรือถูกน้ำลายสัตว์ที่เป็นโรคก็จะทำให้เชื้อโรคนั้นแพร่ติดต่อมาสู่คนได้ และสัตว์ที่เป็นโรคก็ยังสามารถที่ติดต่อเชื้อโรคไปยังสัตว์ปกติที่ไม่เป็นโรคได้ โรคพิษสุนัขบ้ามักจะพบในช่วงฤดูร้อน คือ ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน. ของทุกปี โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถควบคุมป้องกันได้แต่ไม่สามารถรักษาได้เมื่อมีอาการของโรค การป้องกันที่ดี คือ การระวังไม่ให้ถูกสัตว์กัด หรือถูกน้ำลายของสัตว์ รวมทั้งการพาสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ถ้าสัตว์ถูกกัดต้องรีบทำความสะอาดบาดแผลและไปพบแพทย์เพื่อทำการฉีดวัคซีนทันที
ด้วยปณิธาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรไทย รวมถึงสรรพชีวิตภายใต้ร่มพระบารมีให้มีความผาสุก เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือ ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อ พ.ศ. 2559 ทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า “ทรงห่วงใยโรคพิษสุนัขบ้าที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติ” และมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย ตามโครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า” ตามวาระแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2562
เนื่องจากในปีที่ผ่านมาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปลักหนูไม่มีสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2563 กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค และกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าประจำปีงบประมาณ 2561 โดยเน้นกิจกรรมต่างๆ เช่นกิจกรรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การสำรวจและการขึ้นทะเบียนสุนัข-แมวการผ่าตัดทำหมัน การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องพิษสุนัขบ้าและการส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงสุนัขและแมวอย่างถูกวิธีมีความรับผิดชอบเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ชาวบ้าน/นักเรียน รับทราบการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า/ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและแนวทางป้องกันอีกทั้งตระหนักถึงอันตรายของโรคพิษสุนัขบ้า/ การดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างถูกต้อง /การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันสุนัขกัด การปฏิบัติตนหลังจากถูกสุนัขกัด ชาวบ้าน/นักเรียน สามารถตอบแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง : โรคพิษสุนัขบ้า ได้ถูกต้องร้อยละ 70 |
0.00 | |
2 | ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบข้อมูลการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกัน การหลีกเลี่ยง การลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัด ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและ ข้อมูลการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกัน การหลีกเลี่ยง การลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 679.00 | 0 | 0.00 | 679.00 | |
9 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 | แต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะกรรมการด้านการดำเนินงานโรคพิษสุนัขบ้าตำบลปลักหนู/คณะอนุกรรมการด้านการดำเนินงานโรคพิษสุนัขบ้า | 0 | 650.00 | - | - | ||
9 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 | จัดเวทีชาวบ้าน/ประชาคม/ประชุม/ชี้แจงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า/ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและแนวทางป้องกัน | 0 | 21.00 | - | - | ||
9 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 | ประชาสัมพันธ์ | 0 | 8.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 679.00 | 0 | 0.00 | 679.00 |
-
- เสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปลักหนู
-
- แต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะกรรมการด้านการดำเนินงานโรคพิษสุนัขบ้าตำบลปลักหนู/คณะอนุกรรมการด้านการดำเนินงานโรคพิษสุนัขบ้า
-
- จัดเวทีชาวบ้าน/ประชาคม/ประชุม/ชี้แจงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า/ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและแนวทางป้องกัน
-
- ประชาสัมพันธ์โครงการ
-
- ให้ความรู้โรคพิษสุนัขบ้าและฮอร์โมนคุมกำเนิด
-
- กิจกรรม ออกข้อบัญญัติ ควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์
-
- รายงานการดำเนินโครงการให้เทศบาลทราบและประเมินผลโครงการ
-
- ประชาชน นักเรียนความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและแนวทางป้องกันอีกทั้งตระหนักถึงอันตรายของโรคพิษสุนัขบ้า/ การดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างถูกต้อง /การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันสุนัขกัด การปฏิบัติตนหลังจากถูกสุนัขกัด
-
- สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 14:46 น.