โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามวิถีชุมชน ปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามวิถีชุมชน ปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L2489-1-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ |
วันที่อนุมัติ | 30 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 33,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลรอซัก สะมะแอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาเระเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.571,101.613place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2561 | 30 ก.ย. 2561 | 33,400.00 | |||
รวมงบประมาณ | 33,400.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 357 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมายคือ เพิ่มขึ้นจาก135ล้านคนในปีค.ศ. 1995เป็น 151ล้านคนในปีค.ศ. 2000 และคาดว่าจะเป็น221ล้านคนในปีค.ศ. 2010 และ300 ล้านคนในปีค.ศ. 2025 ตามลำดับ (King และคณะ) ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรทุกอายุทั่วโลก พบว่าความชุก ในปี ค.ศ. 2000 เท่ากับ 2.8% และจะเป็น 4.4% ในปี ค.ศ. 2030 (Wild และคณะ) ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทยค.ศ. 1996-1997 พบว่าอัตราความชุก เท่ากับ 4.4% การวิจัยซึ่งเก็บข้อมูลจากทุกภาคของประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 2000 พบว่าอัตราความชุก ของโรคเบาหวานในประชากรทีมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เท่ากับ 9.6% หรือคิดเป็นจำนวน 2.4 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานเพียงครึ่งเดียว (4.8%) อีกครึ่งหนึ่งที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน มาก่อน อัตราความชุกของโรคเบาหวานในเมืองสูงกว่าชนบท(National Health Interview and Examination Survey) สถานการณ์ความชุกของโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ ปี 2015 เท่ากับ 7.6% ในปี 2016 เท่ากับ 7.7 %ในปี2017เท่ากับ 4.71% ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้ป่วยเบาหวานในความรับผิดชอบ จำนวน 143 คน ซึ่งเพิ่มจากปี 2017 คิดเป็น 5.2 % และสถานการณ์ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือปี 2015 เท่ากับ 6.68% ในปี 2016 เท่ากับ 6.5 %ในปี 2017 เท่ากับ 7.42% ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในความรับผิดชอบ จำนวน 504 คน ซึ่งเพิ่มจากปี 2017 คิดเป็น 3.7% การดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน นอกจากยังควรมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเอง และร่วมหารือ และแนะนำการแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วน และการรักษาส่วนใหญ่ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง(Hospital-based) ถึงแม้หลาย ๆ โรงพยาบาลจะได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(HPH) ก็ตาม ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ และทีมงานเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยมีสุขภาพที่ดีมีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียของประชากรกลุ่มป่วยต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ. 2 ส ตามวิถีชุมชน 1.กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ 50 |
357.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 33.00 | 0 | 0.00 | 33.00 | |
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 | อบรมให้ความรู้และติดตามเยี่ยมบ้าน | 0 | 33.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 33.00 | 0 | 0.00 | 33.00 |
1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ
2.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน
4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย เช่น ผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย
5.ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ
6.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เพียงพอในการดำเนินงาน
7.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
8.ดำเนินงานอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ครั้งที่ 1 ให้ความรู้ 3อ 2ส การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม รุ่นที่ 1
- ครั้งที่ 2 ให้ความรู้ 3อ 2ส การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม รุ่นที่ 2
- ครั้งที่ 3 ให้ความรู้ 3อ 2ส การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม รุ่นที่ 3
- ครั้งที่ 4 ติดตามความก้าวหน้าและพูดคุยปัญหาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแก้ไขปัญหาร่วมกัน
9.ประเมินผลสรุปหลังเข้าร่วมโครงการ 6เดือน
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ละทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ อย่างเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่าง ถูกต้องในเรื่อง อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย
- กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ร้อยละ 80
- กลุ่มเป้าหมายไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2561 15:27 น.