โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ตำบลมะกรูด
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ตำบลมะกรูด |
รหัสโครงการ | 61-L2985-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ |
วันที่อนุมัติ | 30 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 พฤษภาคม 2561 - 25 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 27 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 32,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสากียะห์ เจ๊ะสมอเจ๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.738,101.119place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 16 พ.ค. 2561 | 25 ก.ย. 2561 | 32,100.00 | |||
รวมงบประมาณ | 32,100.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่นับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ผู้ที่ติดเชื้อหากแสดงอาการแล้วต้องเสียชีวิตทุกราย แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ครบชุดตามกำหนดนัดโดยกลุ่มประเทศในสมาชิกอาเซียนกำหนดไว้ให้พื้นที่ในภูมิภาคปลอดโรคพิษสุนัขบ้าในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ยังพบโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อให้เป็นแผนแม่บทในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องมีมาตรการการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศ
ทีมสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์เล็งเห็นความสำคัญต่อสุขภาวะในชุมชน มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงประสานกับเทศบาลมะกรูดเพื่อจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 2561 โดยใช้หลัก 5 ย. 1. อย่าแหย่ 2. อย่าเหยียบ 3. อย่าแยก 4. อย่าหยิบ 5. อย่ายุ่ง โดยจัดทำโครงการในกลุ่มแกนนำสุขภาพ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบลมะกรูด เพื่อให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องไปเผยแพร่แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลมะกรูด ต่อไปได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้แกนนำสุขภาพนำความรู้ที่ถูกต้องไปเผยแพร่แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลมะกรูดต่อไป ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าที่ถูกต้อง ร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อสร้างความตื่นตัวและกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 80 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 32,100.00 | 1 | 32,100.00 | 0.00 | |
22 พ.ค. 62 | อบรมให้ความรู้รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ | 0 | 32,100.00 | ✔ | 32,100.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 32,100.00 | 1 | 32,100.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบและวางแผนการดำเนินงาน 1.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
ระยะดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการให้แก่องค์กรท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนรับทราบ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และ อสม. ตำบลมะกรูด จำนวน 150 คน โดยมีการประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม 2.3 จัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ป้ายละ 800 บาท จำนวน 1 ป้าย และไวนิลสื่อสุขศึกษาโครงการฯ ป้ายละ 600 บาท จำนวน 8 ป้าย รวมทั้งหมด 9 ป้าย 2.4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า โดยการลงพื้นที่เดินเท้า ใช้ป้ายไวนิลสื่อสุขศึกษา แจกแผ่นพับ ติดป้ายให้สุขศึกษาตามจุดที่เห็นได้ชัดของหมู่บ้าน
- ระยะหลังดำเนินการ 3.1 ประเมินผลการดำเนินโครงการสรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ
- แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าที่ถูกต้อง
- แกนนำสุขภาพนำความรู้ที่ถูกต้องและนำไปเผยแพร่แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลมะกรูด
- ประชาชนมีความตื่นตัวและเห็นความสำคัญในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 08:41 น.