โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L5253-1-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด |
วันที่อนุมัติ | 29 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2561 |
งบประมาณ | 37,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจำนงค์ จันทร์อินทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.505,100.802place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ | 21.06 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆ ของประเทศไทยคือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจาการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ราษฎรจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง และจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2550 พบว่าคนไทยมีเพียง 5 ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้นจากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า 15 ปี โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 ของภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษาอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 39,290 คน พบว่า กลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ 5.97 และ 4.56 วันต่อสัปดาห์ตามลำดับ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสิรมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ. 2555 - 2563 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (3อ 2ส)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้ จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ที่มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้ |
120.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 37,800.00 | 0 | 0.00 | 37,800.00 | |
26 มิ.ย. 61 | อบรมเชิงปฏิบัติการ | 0 | 37,800.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 37,800.00 | 0 | 0.00 | 37,800.00 |
วันที่ 1 - ผู้เข้าร่วมโครงการ ชั่งน้ำหนัก , วัดส่วนสูง , วัดความดันโลหิต , วัดรอบเอว , วัดรอบสะโพก และทำแบบสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ - ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค/การปฏิบัติตัวเพื่อห่างไกลโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง - ให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินสุขภาพเบื้องต้นพร้อมฝึกปฏิบัติการใช้แบบประเมินสุขภาพและแปลผลภาวะสุขภาพของตนเอง - ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย - สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบกายบริหารจังหวะไทย วันที่ 2 - ให้ความรู้เรื่องการใช้แบบประเมินความเครียดด้วยตนเองและการแปรผล พร้อมทั้งฝึกใช้แบบประเมินความเครียด - ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตและการจัดการความเครียด - สาธิตและฝึกปฏิบัติการฝึกจิตและการคลายเครียด - ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม - สาธิตและฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารตัวอย่าง - ฝึกปฏิบัติออกกำลังกายแบบฤาษีดัดตน - ทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรม - ผู้เข้าร่วมโครงการ (แกนนำ) เซ็นสัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อห่างไกล โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
- แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
- ประชาชนากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง
- อัตราการตรวจพบโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 11:16 น.