เครือข่ายป้องกันตนเองจากยาเสพติดในกลุ่มเยาวชนตำบลปลักหนู
ชื่อโครงการ | เครือข่ายป้องกันตนเองจากยาเสพติดในกลุ่มเยาวชนตำบลปลักหนู |
รหัสโครงการ | 61-L5203-2-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนตำบลปลักหนู |
วันที่อนุมัติ | 2 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 40,562.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | น.ส.ซากีนะห์อิสัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอะหมัด หลีขาหรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปลักหนู อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.676,100.663place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 125 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหายาเสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน เป็นผลให้เยาวชน หลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภาระงบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติด อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่าง ๆในสังคมเช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่น ๆตามมาอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นการให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องด้านความรู้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาเบื้องต้นเพื่อป้องกันเยาวชนไม่ให้ใช้สารเสพติดนั้น ส่วนใหญ่เป็นการสอน โดยให้ความรู้เป็นลักษณะการให้รู้เท่าทัน นอกจากนี้ โครงการเน้นการสอนให้เด็กและเยาวชนเกิดเจตคติ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิดที่ได้รับการจัดระบบขึ้นมาของบุคคลนั้น ประกอบการสอนนั้นต้องใช้สื่อที่สร้างความรู้สึก มีการจัดระบบความคิดความเชื่อ และถ้าใช้กระบวนการกลุ่มในการสอนจะทำให้เด็กได้แสดงความรู้สึกนึกคิดของตน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาข้อโต้แย้งได้ และเกิดเจตคติที่ดีได้ในที่สุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างภูมคุ้มกันแก้เด็กและเยาวชนวัยเรียน ให้ห่างไกลจากยาเสพติดและบุหรี่ เด็กและเยาวชนวัยเรียนมีความรู้สู่ภูมิคุ้มกันให้ห่างไกลยาเสพติดและบุหรี่ |
0.00 | |
2 | เพื่อสร้างผู้นำเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในตำบล สร้างผู้นำเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในตำบล |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- 1ประชุมคณะกรรมการ/ผู้ประสานงาน ในโรงเรียนในเขตตำบลปลักหนูเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ ประจำปี 2561
- กำหนดการกิจกรรม
- กำหนดกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
- กำหนดและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการ
- ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
- ประสานงานในการจัดหาสถานที่ในการจัดกิจกรรม โครงการ จัดหาวิทยากร
- จัดการอบรมให้กับกลุ่มเป้าหมาย
- สรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพ อ.บ.ต.ปลักหนู
1 เด็กและเยาวชนวัยเรียนมีความรู้สู่ภูมิคุ้มกันให้ห่างไกลยาเสพติด 2 สร้างผู้นำเครือข่ายเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาของตน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2561 16:49 น.