กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ L61-L5254-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสะบ้าย้อย
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรีรัตน์ ขวัญซ้าย
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวถิรดาเพิ่มพูล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กไทย ต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงวัยเจริญพันธ์ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากหญิงวัยเจริญพันธ์เหล่านี้ ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้วจะสามารถป้องกันและภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่นโรคธาลัสซีเมีย ลดความพิการของทารกแต่กำเนิด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง ปัญหาคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกคลอดปลอดภัย และมีสุขภาพแข็งแรง ต่อเนื่องถึงการดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างองค์รวม ทั้งสุขภาวะทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลเลี้ยงดูเด็กที่ดีจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมจะทำให้มารดาและทารกที่คลอดมา มีสุขภาพดี ทารกควรได้รับการเลี้ยงดูน้ำนมแม่อย่างต่อเนื่อง ได้รับการบริการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม และได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมจากพ่อแม่ทั้งการกระตุ้นพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสะบ้าย้อย พบว่ายังมีตัวชี้วัดสำคัญอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้บรรลุตามเป้าหมายได้แก่ อัตราภาวะโลหิตจางในขณะใกล้คลอดปี 2558-2560 คิดเป็นร้อยละ 13.03,15.35 และ 16.71 และถึงแม้ว่าตัวชี้วัดบางส่วนจะมี ผลการดำเนินงานผ่านตามเป้าหมายตัวชี้วัดแล้ว เช่นอัตราอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ปี2558-2560 คิดเป็นร้อยละ 77.73 ,64.48 และ 88.43 อัตราการฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2558-2560 คิดเป็นร้อยละ13.31 , 45.21 และ 65.76 เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาการสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ในปี 2559-2560 ผลงานร้อยละ 85.06 และ 95.50 แต่การพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ก็ยังคงต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย เพื่อการดูแลส่งเสริม และลดปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มแม่และเด็กต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมบุคลากรในภาคีเครือข่ายให้มีความรู้ความสามารถด้านอนามัยแม่และเด็ก

บุคลากรในภาคีเครือข่ายให้มีความรู้ความสามารถด้านอนามัยแม่และเด็กเพิ่มขึ้น

1.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชนในการดูแลสุขภาพแม่และเด็กตั้งแต่ ตั้งครรภ์ จนถึง วัยก่อนเรียน

ภาคีเครือข่ายและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแม่และเด็กตั้งแต่ ตั้งครรภ์ จนถึง วัยก่อนเรียนเพิ่มมากขึ้น

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,400.00 0 0.00
6 มิ.ย. 61 ส่งเสริมหญิงวัยเจริญพันธ์เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เพื่อลดความพิการในทารกแรกเกิดและป้องกันภาวะซีด 0 3,300.00 -
6 มิ.ย. 61 พัฒนาศักยภาพโต๊ะอิหม่ามให้มีความรู้ในเรื่องการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ 0 2,200.00 -
6 มิ.ย. 61 ส่งเสริมภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 3,900.00 -

ขั้นเตรียมการ ประชุมคณะกรรมการ MCH วางแผนการดำเนินงาน จัดทำโครงการและแผนดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ 1.ส่งเสริมหญิงวัยเจริญพันธ์เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เพื่อลดความพิการในทารกแรกเกิด และป้องกันภาวะซีด 1.1ให้ความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ -เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์อย่างไร -การกินยาโฟเลตก่อนการตั้งครรภ์ -ปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ 1.2หญิงวัยเจริญพันธุ์ ได้รับยาโพเลตและยาธาตุเหล็กและติดตามตามผล -จ่ายยาพร้อมสมุดบันทึกแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ -เจาะเลือดหาค่า Hct ก่อนกินยา -ติดตามการเจาะเลือด Hct หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์หลังจากกินยาครบ 3 เดือน 2.พัฒนาศักยภาพโต๊ะอิหม่ามให้มีความรู้ในเรื่องการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ 2.1อบรมโต๊ะอิหม่าม ครู ก.โต๊ะอิหม่ามสือกลางสานสายใยใส่ใจการตั้งครรภ์ -เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์อย่างไรสำหรับคู่แต่งงานใหม่ -ประโยชน์การกินยาโฟเลตก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อลดความพิการในทารก และภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ 3.ส่งเสริมภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.1ประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงานการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กแก่หัวหน้าเด็กเล็กในพื้นที่ 3.2ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องภาวะโภชนาการดี รูปร่างสมส่วน แก่ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.3ติดตามเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ ร้อยละ 80 2.ผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กตามเป้าหมาย ผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริการงานอนามัยแม่และเด็กมีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับการบริการที่ดีมีประสิทธิภาพ มีสุขภาพดี ลดภาวะแทรกซ้อน และความรุนแรงที่จะเกิดต่อแม่และเด็ก เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัยรวมถึงชุมชน/ภาคีเครือข่าย ร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2561 13:06 น.