โครงการลูกน้อยสุขภาพดี มีชีวีที่สดในใส่ใจด้วยวัคซีน
ชื่อโครงการ | โครงการลูกน้อยสุขภาพดี มีชีวีที่สดในใส่ใจด้วยวัคซีน |
รหัสโครงการ | 60-L5254-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.คูหา |
วันที่อนุมัติ | 26 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประดิษฐ์เอียดแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.61,100.833place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างจิตสำนึก เจตคติที่ดี แก่บิดา มารดาและผู้ปกครองเด็กต่อการรับวัคซีน
|
||
2 | เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
|
||
3 | เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
|
||
4 | เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 2,3,5 ปี ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95
|
||
5 | เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เครือข่ายในการดูแลสุภาพของชุมชน
|
||
6 |
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน 1) ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ อสม.เรื่องอันตรายของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากโรคติดต่อ 2) ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนามีส่วนร่วมในการประกาศติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด 3) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ติดตามผู้ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัดทุกสัปดาห์ 4) ผู้ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัดจะนำชื่อไปติดป้ายประชาสัมพันธ์และให้ผู้นำศาสนาประกาศชื่อในวันศุกร์ เดือนละ 1 ครั้ง
กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี
1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกหมู่บ้านร่วมกับ อสม.ประจำหมู่บ้านในการให้สุขศึกษาแก่ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัดเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
2)แจกเอกสารแผ่นพับเรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนแก่ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี ที่พาบุตรมารับวัคซีนในคลินิกเด็กดีเพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักและนำบุตรมารับวัคซีนตามนัดต่อไป
3) อสม.ติดตามเด็กในพื้นที่รับผิดชอบของตนให้มารับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ
4) เพิ่มความหลากหลายของบริการสุขภาพในคลินิกเด็กดีโดยการผสมผสานกับงานด้านอื่น ๆ เช่น การชั่งน้ำหนักเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ การตรวจพัฒนาการ การตรวจฟัน / ทาฟลูออไรด์วานิช แจกแปรงสีฟัน เป็นต้น เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความประทับใจ และอยากพาบุตรมารับวัคซีน ในครั้งต่อไป
กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างแรงจูงใจในการรับวัคซีน
1) จัดนิทรรศการรณรงค์ให้เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มาตรฐานโดยแจกของเล่นของที่ระลึก เสริมพัฒนาการ เมื่อเด็กมารับวัคซีนครบ
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริการ
1) ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในคลินิกเด็กดี ทุก 3 เดือน โดยนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการให้บริการ เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้ปกครอง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงในการมารับวัคซีนตามนัด
2) ปรับปรุงระบบการให้สุขศึกษา โดยผู้ที่ให้บริการต้องให้สุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นรายบุคคลตามมาตรฐานการให้วัคซีน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2560 12:33 น.