กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และหยุดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L6895-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนกันตังพิทยากรศึกษา
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 38,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนกันตังพิทยากร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ การสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12 -18ปี มีปริมาณสูงขึ้นถึงปีละ1 แสนคนและสถิติเด็กไทยที่ติดบุหรี่ 10 คน จะมีเด็กติดบุหรี่ 7 คน และปัญหาสุขภาพช่องปาก รวมถึงป้องกันนักสูบหน้าใหม่ให้รู้จักการกล้าที่จะปฏิเสธบุหรี่เมื่อถูกชักชวนและสามารถพัฒนาจนเกิดทักษะในการป้องกันตนเองได้ เนื่องจากสถานการณ์การสูบบุหรี่ในเด็กประถมศึกษาไทยกำลังน่าเป็นห่วง มีแนวโน้มการสูบบุหรี่สูงขึ้น ซึ่งจากการสำรวจของกรมอนามัยพบว่า เด็กที่อายุน้อยที่สุดเริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก อายุเพียง 9 ปี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ของเยาวชนมากที่สุด คือมีเพื่อนหรือคนรู้จักสอนให้สูบบุหรี่ และการมีคนในครอบครัวสูบบุหรี่ รวมถึงการถูกใช้ให้ไปซื้อบุหรี่ เด็กขาดความรู้ความเข้าใจในพิษภัยของบุหรี่ ต้องการแสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคม การเลียนแบบจากสื่อภาพยนตร์ต่างๆที่ทำให้เด็กถูกชักจูงได้ง่ายจากกลยุทธ์การโฆษณา รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆที่แฝงการโฆษณาของบริษัทบุหรี่ซึ่งที่ผ่านมาการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางสาธารณสุขจึงมีความพยายามที่จะรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคบุหรี่ มุ่งเน้นให้เกิดการลดการสูบบุหรี่ในนักสูบหน้าใหม่ เพราะการไม่สูบบุหรี่นั้นจะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ และทำให้สุขภาพอนามัยและสุขภาพชีวิตทุกคนในสังคมดีขึ้น โดยใช้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอน ใช้การเล่นกีฬาเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก เริ่มในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี ซึ่งกิจกรรมและการรณรงค์ต่างๆ จะต้องได้รับการร่วมมือจากเด็ก ครอบครัว โรงเรียน ชุมชนในการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมและป้องกันผู้สูบหน้าใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ” โรงเรียนกันตังพิทยากรได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ รณณรงค์และหยุดการเกิดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ปี 2561 ขึ้น เพื่อสร้างความรู้ ความตระหนักและปลูกจิตสำนึกให้แก่นักเรียนในเรื่องพิษภัยและโทษของบุหรี่ที่มีผลต่อร่างกายและพิษภัยที่เกิดกับนักสูบมือ 2 ให้พ้นจากพิษภัยของบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ในเยาวชน นักเรียนในสถานศีกษา

นักเรียนหยุดหรือลดการสูบบุหรี่หน้าใหม่ในสถานศีกษา

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนรู้ถึงพิษภัยและโทษของบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย

นักเรียนที่เข้าอบรมร้อยละ 80 มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม

0.00
3 เพื่อป้องกัน นักสูบมือ 2 ให้พ้นจากพิษภัยของบุหรี่

นักเรียนและบุคคลข้างเคียงหรือนักสูบมือ 2 ให้พ้นจากพิษภัยของบุหรี่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,620.00 2 38,650.00
2 ส.ค. 61 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 34,970.00 38,650.00
2 ส.ค. 61 กิจกรรมรณรงค์งดสูบบุหรี่ 0 3,650.00 0.00
  1. เขียนโครงการและเสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทม.กันตัง
  2. ประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาฯ กรรมการนักเรียน เพื่อวางแผนเตรียมงาน
  3. ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม /ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ดำเนินการอบรมตามโครงการ ดังนี้ 4.1 จัดนิทรรศการ และ เขียนเรียงความพิษภัยของบุหรี่ 4.2 อบรมให้ความรู้เรื่องความรู้ความเข้าใจในพิษภัยของบุหรี่ 4.3 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มและอภิปรายแนวทางการลดนักสูบหน้าใหม่ 4.4 เดินรณรงค์เพื่อลดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ และพิษภัยของการสูบบุหรี่
  5. ประเมินความพึงพอใจนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  6. สรุปรายงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ/รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เริ่มสูบบุหรี่มีจำนวนลดลง
  2. นักเรียนที่เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่
  3. นักเรียนที่อยู่รอบข้างคนสูบบุหรี่มีความรู้ในการป้องกันตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2561 14:16 น.