กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเลดี้เช็ค เลดี้เฟริ์ส
รหัสโครงการ L61-L5254-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดวงพรดวงยอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม (ดังสถิติสิบอันดับแรกของมะเร็งในสตรีของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ) ซึ่งมะเร็งทั้งสองชนิดนี้สามารถตรวจค้นหาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น มะเร็งปากมดลูก ตรวจโดยวิธี Pap Smear และมะเร็งเต้านมตรวจค้นหาได้โดยการคลำเต้านม ที่ถูกวิธีจากการตรวจคัดกรองในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ,๒๕๖๐ ในสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวงพบหญิงที่มีภาวะผิดปกติที่ปากมดลูกจำนวน ๕,๗รายพบหญิงที่มีภาวะเสี่ยงเป็นก้อนที่เต้านม จำนวน ๔ , ๓ รายตามลำดับ เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรอง Pap smearและมีความรู้ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้องเพื่อค้นหาความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที ทำให้มีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นทีมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ดังกล่าว ดังกล่าวจึงเกิดแนวความคิดในการทำงานร่วมกันกับชุมชนโดยใช้ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่อย่างเต็มที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผสมผสานกับวิทยาการทางการแพทย์สอดแทรกเสริมให้กับกลุ่มพลังมวลชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง จึงได้ทำ“โครงการ เลดี้เช็คเลดี้เฟริ์ส” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างความตระหนักให้กับชุมชนในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็ง

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีรับความรู้ ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

1.00
2 2.เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการ pap Smear

2.ค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้มากขึ้นและผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และทันท่วงที

1.00
3 3.เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี มีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้อง

3.ไม่มี อัตราการเกิดโรคในระยะอันตราย, ไม่มีอัตราการป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

1.00
4 4.สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่ง เพื่อตรวจรักษาตามแนวทางที่กำหนด

4.ชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,700.00 0 0.00
28 มิ.ย. 61 1.การคืนข้อมูลสุขภาพให้กับชุมชนได้รับรู้โดยผ่านเวที การประชุมหมู่บ้านและกิจกรรมต่างๆในชุมชน 2.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา ผลกระทบ รวมถึงการป้องกันโรคมะเร็ง / แนะนำการตรวจ เต้านมด้วยตนเองให้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย 0 36,700.00 -

วิธีการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1
1.การคืนข้อมูลสุขภาพให้กับชุมชนได้รับรู้โดยผ่านเวที การประชุมหมู่บ้านและกิจกรรมต่างๆในชุมชน 2.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา ผลกระทบ รวมถึงการป้องกันโรคมะเร็ง / แนะนำการตรวจ เต้านมด้วยตนเองให้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อแนะนำสตรีในเขตรับผิดชอบ 3.สร้างเครือข่ายการดำเนินงาน โดยผ่านแกนนำหมอครอบครัว อสม.ประชาสัมพันธ์และแนะนำกลุ่มเป้าหมายที่ตนเองรับผิดชอบจูงใจ ให้มารับบริการการตรวจ โดยมีแผ่นพับและหนังสือเชิญชวน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก วิธีการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2
1.ที่สถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกวัน โดยใช้ทฤษฏี “ดักไทรแห้ง” 2.ให้บริการนอกสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวก สำหรับผู้ที่ไม่สามารถมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้โดยใช้ทฤษฏี “ห้องลับประทับใจ” วิธีการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 3
1.ฟื้นฟูความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่อสม.และกลุ่มเป้าหมาย 2.ให้ อสม. เป็นพี่เลี้ยงแนะนำการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง แก่หญิง อายุ 30-70 ปีในเขตรับผิดชอบ วิธีการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ ๔
1. แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้รับบริการเมื่อหญิงกลุ่มเป้าหมายมาตรวจ 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการรักษาและส่งต่อในรายที่ผิดปกติ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีรับความรู้ ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  2. ค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้มากขึ้นและผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และทันท่วงที 3.ไม่มี อัตราการเกิดโรคในระยะอันตราย, ไม่มีอัตราการป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก 4.ชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2561 13:42 น.