โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา |
รหัสโครงการ | 60-L2984-2-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านป่าบอน |
วันที่อนุมัติ | 25 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพรทิพย์ ไชยลาภ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.701,101.116place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 84 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 โดยได้บัญญัติให้ผู้รับผิดชอบการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้ครอบคลุมสำหรับทั้ง 3 ด้าน คือ ให้เป็นคนเก่ง คนดี สามารถดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกที่มีการพลวัตร อยู่ตลอดเวลา ผลกระทบที่ก่อให้เกิดสภาพปัญหาที่รุนแรงในเยาวชนวัยรุ่นและวัยเรียนในสังคมไทย ก็คือปัญหาด้านยาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในแต่ละปีเป็นจำนวนมากมหาศาล นอกจากเป็นการสูญเสียจำนวนเม็ดเงินแล้วยังส่งผลถึงความล่มสลาย วิญญาณของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคคลใกล้ชิด ทำให้เกิดปัญหาทางด้านสังคมติดตามมาอีกมากมาย การแก้ปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นการยากลำบาก ทั้งในด้านการใช้งบประมาณ พลังใจที่เข้มแข็งและเวลาอันยาวนาน โรงเรียนในฐานะเป็นองค์กรที่ต้องดูแลรับผิดชอบ กลุ่มเยาวชนดังกล่าวเห็นว่าการป้องกันโดยการสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจนับเป็นแนวทางสำคัญ ที่ทำให้เยาวชนปลอดภัยจากยาเสพติด ได้ในระดับหนึ่ง นอกเหนือจากการดูแลของสถาบันครอบครัว โรงเรียนบ้านป่าบอน หมู่ที่ 1 ตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นโรงเรียนที่ประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 84 คน บุคลากรครูผู้สอน จำนวน 12 คน จากการสำรวจของโรงเรียน พบว่ายังไม่มีผู้ติดสารเสพติดดังกล่าว เนื่องจากนักเรียนยังอายุน้อยแต่จากประสบการณ์พบว่า เมื่อนักเรียนเข้าสู่วัยรุ่นในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป นักเรียนก็จะเริ่มเข้าไปทดลองใช้ยาเสพติดดังกล่าวจนทำให้ต้องเสียคนและเสียการเรียนไปในที่สุด ด้วยเหตุนี้โรงเรียนนาค้อเหนือได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จึงจัดให้มีโครงการนี้ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรีียนมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของสารเสพติด
|
||
2 | เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยจากยาเสพติดให้โทษตลอดจนสามารถเติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม
|
||
3 | เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมดูแลบุตรหลานให้ปลอดภัยจากสารเสพติด
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.เสนอโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา 2.จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ 3.ดำเนินการตามโครงการ - วิทยากรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด - จัดทำป้ายไวนิลเดินรณรงค์เกี่ยวกับสารเสพติด - จัดทำบอร์ดเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับสารเสพติด - ประกวดคำขวัญเกี่ยวกับสารเสพติด - ประกวดเรียงความเกี่ยวกับสารเสพติด 4.ประเมิน/สรุป/รายงานผล
1.นักเรียนมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของสารเสพติด 2.นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และปลอดภัยจากยาเสพติดให้โทษ ตลอดจนสามารถเติมโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม 3.ผู้ปกครองสามารถดูแลบุตรหลานให้ปลอดภัยจากสารเสพติด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2560 15:54 น.